เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [3. ตติยปัณณาสก์] 4. ราชวรรค 3. ธัมมราชาสูตร
3. เป็นผู้รู้ประมาณ
4. เป็นผู้รู้กาล
5. เป็นผู้รู้บริษัท
ภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรประกอบด้วยธรรม 5 ประการนี้แล จึงให้ธรรมจักร
อันยอดเยี่ยมที่ตถาคตให้หมุนไปแล้ว ให้หมุนไปโดยธรรมเท่านั้น จักรนั้นอันสมณะ
พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใคร ๆ ในโลก ให้หมุนกลับไม่ได้
ทุติยจักกานุวัตตนสูตรที่ 2 จบ

3. ธัมมราชาสูตร
ว่าด้วยธรรมราชา
[133] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม
เป็นธรรมราชา ย่อมไม่ทรงให้จักรที่มิใช่ของพระราชาหมุนไป”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไร เป็นราชาของพระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม
เป็นธรรมราชา”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ธรรม1 เป็นราชาของพระเจ้าจักรพรรดิผู้
ทรงธรรม เป็นธรรมราชา” แล้วตรัสต่อไปว่า “พระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม เป็น
ธรรมราชาในโลกนี้ ทรงอาศัยธรรมเท่านั้น สักการะธรรม เคารพธรรม นอบน้อม
ธรรม เชิดชูธรรม ยกย่องธรรม มีธรรมเป็นใหญ่ ทรงจัดการรักษา ป้องกันและ
คุ้มครองชนภายใน2โดยธรรม
อีกประการหนึ่ง พระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม เป็นธรรมราชา ฯลฯ มีธรรม
เป็นใหญ่ ทรงจัดการรักษา ป้องกัน และคุ้มครองพวกกษัตริย์ผู้ตามเสด็จ กำลังพล

เชิงอรรถ :
1 ธรรม ในที่นี้หมายถึงกุศลกรรมบถ 10 ประการ จัดเป็นราชาของพระเจ้าจักรพรรดิ (องฺ.ติก.อ. 2/14/87)
2 ชนภายใน หมายถึงมเหสี พระราชโอรส และพระราชธิดา (องฺ.ติก.อ. 2/14/88)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :214 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [3. ตติยปัณณาสก์] 4. ราชวรรค 3. ธัมมราชาสูตร
พราหมณ์คหบดี ชาวนิคม ชาวชนบท สมณพราหมณ์ สัตว์จำพวกเนื้อและนก
โดยธรรม พระเจ้าจักรพรรดินั้นแลผู้ทรงธรรม เป็นธรรมราชา ฯลฯ มีธรรมเป็นใหญ่
ครั้นทรงจัดการรักษา ป้องกัน และคุ้มครองโดยธรรมแล้ว จึงให้จักรหมุนไปโดย
ธรรมเท่านั้น จักรนั้นอันใคร ๆ ที่เป็นมนุษย์ เป็นข้าศึก และเป็นสัตว์มีชีวิตให้หมุน
กลับไม่ได้
พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้ทรงธรรม
เป็นธรรมราชา1 ทรงอาศัยธรรมเท่านั้น สักการะธรรม เคารพธรรม นอบน้อมธรรม
เชิดชูธรรม ยกย่องธรรม มีธรรมเป็นใหญ่ ทรงจัดการรักษา ป้องกัน และคุ้มครอง
ภิกษุทั้งหลายโดยธรรมว่า
1. กายกรรมเช่นนี้ควรประพฤติ กายกรรมเช่นนี้ไม่ควรประพฤติ
2. วจีกรรมเช่นนี้ควรประพฤติ วจีกรรมเช่นนี้ไม่ควรประพฤติ
3. มโนกรรมเช่นนี้ควรประพฤติ มโนกรรมเช่นนี้ไม่ควรประพฤติ
4. อาชีพเช่นนี้ควรประกอบ อาชีพเช่นนี้ไม่ควรประกอบ
5. บ้านและนิคมเช่นนี้ควรอยู่อาศัย บ้านและนิคมเช่นนี้ไม่ควรอยู่อาศัย
อีกประการหนึ่ง ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงธรรม เป็นธรรม
ราชา ฯลฯ มีธรรมเป็นใหญ่ ทรงจัดการรักษา ป้องกัน และคุ้มครองภิกษุณีทั้งหลาย
โดยธรรม ... อุบาสกทั้งหลาย ... อุบาสิกาทั้งหลายโดยธรรมว่า
1. กายกรรมเช่นนี้ควรประพฤติ กายกรรมเช่นนี้ไม่ควรประพฤติ
ฯลฯ
5. บ้านและนิคมเช่นนี้ควรอยู่อาศัย บ้านและนิคมเช่นนี้ไม่ควรอยู่อาศัย

เชิงอรรถ :
1 ธรรมราชา เป็นพระนามของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า หมายถึงพระผู้ทรงให้มหาชนยินดีด้วย
โลกุตตรธรรม 9 ประการ (มรรค 4 ผล 4 และนิพพาน 1) (องฺ.ติก.อ. 2/14/88)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :215 }