เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [3. ตติยปัณณาสก์] 1. คิลานวรรค 2. สติสุปัฏฐิตสูตร
4. พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง
5. เข้าไปตั้งมรณสัญญา(กำหนดหมายความตาย)ไว้ในภายใน
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม 5 ประการนี้ ย่อมไม่ละภิกษุบางรูปผู้ทุพพลภาพ เป็นไข้
เธอพึงหวังได้ผลนี้คือ ‘ไม่นานนักจักทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มี
อาสวะเพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน’
คิลานสูตรที่ 1 จบ

2. สติสุปัฏฐิตสูตร
ว่าด้วยผู้มีสติตั้งไว้ดี
[122] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง เจริญ ทำให้มากซึ่ง
ธรรม 5 ประการ เธอพึงหวังได้ผลอย่าง 1 ใน 2 อย่าง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน
หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ ก็จักเป็นอนาคามี
ธรรม 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. เข้าไปตั้งสติไว้ในภายใน
2. พิจารณาเห็นกายว่าเป็นของไม่งาม ด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา
เห็นทั้งความเกิดและความดับแห่งธรรมทั้งหลาย
3. กำหนดหมายความปฏิกูลในอาหาร
4. กำหนดหมายความไม่น่าเพลิดเพลินในโลกทั้งปวง
5. พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง เจริญ ทำให้มากซึ่งธรรม 5
ประการนี้ เธอพึงหวังได้ผลอย่าง 1 ใน 2 อย่าง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือ
เมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ ก็จักเป็นอนาคามี
สติสุปัฏฐิตสูตรที่ 2 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :202 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [3. ตติยปัณณาสก์] 1. คิลานวรรค 3. ปฐมอุปัฏฐากสูตร
3. ปฐมอุปัฏฐากสูตร
ว่าด้วยภิกษุไข้ที่พยาบาลได้ยากและง่าย สูตรที่ 1
[123] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไข้ประกอบด้วยธรรม 5 ประการ เป็นผู้
พยาบาลได้ยาก
ธรรม 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ไม่ทำสิ่งที่เป็นสัปปายะ
2. ไม่รู้จักประมาณในสิ่งที่เป็นสัปปายะ
3. ไม่ฉันยา
4. ไม่บอกอาพาธที่มีอยู่ตามความเป็นจริงแก่ผู้พยาบาลที่ปรารถนา
ประโยชน์ เช่น ไม่บอกอาพาธที่กำเริบว่า ‘กำเริบ’ ไม่บอกอาพาธ
ที่ทุเลาว่า ‘ทุเลา’ ไม่บอกอาพาธที่ยังทรงอยู่ว่า ‘ทรงอยู่’
5. ไม่อดกลั้นต่อเวทนาทั้งหลายอันมีในร่างกายที่เกิดขึ้นแล้วเป็นทุกข์
กล้าแข็ง เจ็บปวด เผ็ดร้อน ไม่น่ายินดี ไม่น่าพอใจ พรากชีวิต
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไข้ประกอบด้วยธรรม 5 ประการนี้แล เป็นผู้พยาบาลได้ยาก
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไข้ประกอบด้วยธรรม 5 ประการ เป็นผู้พยาบาลได้ง่าย
ธรรม 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ทำสิ่งที่เป็นสัปปายะ
2. รู้จักประมาณในสิ่งที่เป็นสัปปายะ
3. ฉันยา
4. บอกอาพาธที่มีอยู่ตามความเป็นจริงแก่ผู้พยาบาลที่ปรารถนา
ประโยชน์ เช่น บอกอาพาธที่กำเริบว่า ‘กำเริบ’ บอกอาพาธที่
ทุเลาว่า ‘ทุเลา’ บอกอาพาธที่ยังทรงอยู่ว่า ‘ทรงอยู่’
5. เป็นผู้อดกลั้นต่อเวทนาทั้งหลายอันมีในร่างกายที่เกิดขึ้นแล้วเป็นทุกข์
กล้าแข็ง เจ็บปวด เผ็ดร้อน ไม่น่ายินดี ไม่น่าพอใจ พรากชีวิต
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไข้ประกอบด้วยธรรม 5 ประการนี้แล เป็นผู้พยาบาล
ได้ง่าย
ปฐมอุปัฏฐากสูตรที่ 3 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :203 }