เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [3. ตติยปัณณาสก์] 1. คิลานวรรค 1. คิลานสูตร
1. คิลานวรรค
หมวดว่าด้วยธรรมสำหรับภิกษุไข้
1. คิลานสูตร
ว่าด้วยธรรมสำหรับภิกษุไข้
[121] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่กูฏาคารศาลา1ป่ามหาวัน
เขตกรุงเวสาลี2 ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้นในเวลาเย็น เสด็จ
เข้าไปที่ศาลาบำรุงภิกษุไข้ ได้ทรงเห็นภิกษุรูปหนึ่งผู้ทุพพลภาพ เป็นไข้ แล้วประทับ
นั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้ ได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม 5 ประการ ย่อมไม่ละภิกษุบางรูปผู้ทุพพลภาพ เป็นไข้
เธอพึงหวังได้ผลนี้คือ ‘ไม่นานนักจักทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มี
อาสวะเพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน’
ธรรม 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. พิจารณาเห็นความไม่งามในกายอยู่
2. กำหนดหมายความปฏิกูลในอาหาร
3. กำหนดหมายความไม่น่าเพลิดเพลินในโลกทั้งปวง

เชิงอรรถ :
1 กูฏาคารศาลา (ศาลาเรือนยอด) หมายถึงพระคันธกุฎีของพระผู้มีพระภาคที่พรั่งพร้อมด้วยศิลปะ ถูกสร้าง
หลังคาทรงกลมงามสง่าคล้ายหงส์ มีเรือนยอดกล่าวคือเรือนที่มีหลังคาทรงสูงอยู่ภายในอีกชั้นหนึ่ง (วิ.อ.
1/162/430, องฺ.ติก.อ. 2/35/131)
2 ที่ชื่อว่า เวสาลี เพราะเป็นเมืองที่กว้างใหญ่ไพศาล มีการสร้างกำแพงรอบเมืองถึง 3 ชั้น เมืองนี้เจริญ
รุ่งเรืองมากในสมัยที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ (วิ.อ. 1/162/430)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :201 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [3. ตติยปัณณาสก์] 1. คิลานวรรค 2. สติสุปัฏฐิตสูตร
4. พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง
5. เข้าไปตั้งมรณสัญญา(กำหนดหมายความตาย)ไว้ในภายใน
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม 5 ประการนี้ ย่อมไม่ละภิกษุบางรูปผู้ทุพพลภาพ เป็นไข้
เธอพึงหวังได้ผลนี้คือ ‘ไม่นานนักจักทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มี
อาสวะเพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน’
คิลานสูตรที่ 1 จบ

2. สติสุปัฏฐิตสูตร
ว่าด้วยผู้มีสติตั้งไว้ดี
[122] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง เจริญ ทำให้มากซึ่ง
ธรรม 5 ประการ เธอพึงหวังได้ผลอย่าง 1 ใน 2 อย่าง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน
หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ ก็จักเป็นอนาคามี
ธรรม 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. เข้าไปตั้งสติไว้ในภายใน
2. พิจารณาเห็นกายว่าเป็นของไม่งาม ด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา
เห็นทั้งความเกิดและความดับแห่งธรรมทั้งหลาย
3. กำหนดหมายความปฏิกูลในอาหาร
4. กำหนดหมายความไม่น่าเพลิดเพลินในโลกทั้งปวง
5. พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง เจริญ ทำให้มากซึ่งธรรม 5
ประการนี้ เธอพึงหวังได้ผลอย่าง 1 ใน 2 อย่าง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือ
เมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ ก็จักเป็นอนาคามี
สติสุปัฏฐิตสูตรที่ 2 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :202 }