เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์]
2. พลวรรค 6. ปุนกูฏสูตร

พึงเห็นได้ในฌาน 41 พึงเห็นสมาธิพละได้ที่นี้
พึงเห็นปัญญาพละได้ที่ไหน
พึงเห็นได้ในอริยสัจ 42 พึงเห็นปัญญาพละได้ที่นี้
ภิกษุทั้งหลาย พละ 5 ประการนี้แล

ทัฏฐัพพสูตรที่ 5 จบ

6. ปุนกูฏสูตร
ว่าด้วยกำลังที่เป็นยอด

[16] ภิกษุทั้งหลาย พละ 5 ประการนี้
พละ 5 ประการ อะไรบ้าง คือ

1. สัทธาพละ 2. วิริยพละ
3. สติพละ 4. สมาธิพละ
5. ปัญญาพละ

ภิกษุทั้งหลาย พละ 5 ประการนี้แล พละที่เป็นเลิศ เป็นที่รวม เป็นศูนย์รวม
แห่งพละ 5 ประการนี้ คือปัญญาพละ
ภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่เป็นเลิศ เป็นที่รวม เป็นศูนย์รวมแห่งเรือนยอด คือยอด
เรือน แม้ฉันใด พละที่เป็นเลิศ เป็นที่รวม เป็นศูนย์รวมแห่งเสขพละ 5 ประการนี้
คือปัญญาพละ ฉันนั้นเหมือนกันแล

ปุนกูฏสูตรที่ 2 จบ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์]
2. พลวรรค 8. ทุติยหิตสูตร

7. ปฐมหิตสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูล สูตรที่ 1

[17] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม 5 ประการ ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อ
เกื้อกูลตน ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น
ธรรม 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้

1. ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยศีล
2. ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิ แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วย
สมาธิ
3. ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อม
ด้วยปัญญา
4. ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วย
วิมุตติ
5. ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ (ความรู้ความเห็นใน
วิมุตติ) แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม 5 ประการนี้แล ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อ
เกื้อกูลตน ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น

ปฐมหิตสูตรที่ 7 จบ

8. ทุติยหิตสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูล สูตรที่ 2

[18] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม 5 ประการ ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อ
เกื้อกูลผู้อื่น ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน
ธรรม 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้

1. ตนเองไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล แต่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยศีล
2. ตนเองไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิ แต่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วย
สมาธิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :21 }