เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [3. ตติยปัณณาสก์] 2. อันธกวินทวรรค 4. อันธกวินทสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม 5 ประการ เป็นผู้อาจบรรลุสัมมา-
สมาธิอยู่ได้
ธรรม 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. เป็นผู้อดทนต่อรูป
2. เป็นผู้อดทนต่อเสียง
3. เป็นผู้อดทนต่อกลิ่น
4. เป็นผู้อดทนต่อรส
5. เป็นผู้อดทนต่อโผฏฐัพพะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม 5 ประการนี้แล เป็นผู้อาจบรรลุ
สัมมาสมาธิอยู่ได้
สัมมาสมาธิสูตรที่ 3 จบ

4. อันธกวินทสูตร
ว่าด้วยหมู่บ้านอันธกวินทะ
[114] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่หมู่บ้านอันธกวินทะ แคว้น
มคธ ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
อานนท์ เธอทั้งหลายพึงยังพวกภิกษุใหม่ บวชได้ไม่นาน เพิ่งมาสู่ธรรมวินัยให้
สมาทาน ให้ตั้งมั่น ให้ดำรงอยู่ในธรรม 5 ประการ
ธรรม 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. เธอทั้งหลายพึงยังภิกษุเหล่านั้นให้สมาทาน ให้ตั้งมั่น ให้ดำรงอยู่
ในปาติโมกขสังวรศีลว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย มาเถิด ขอท่านทั้งหลาย
จงเป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในพระปาติโมกข์ เพียบพร้อม
ด้วยอาจาระและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทาน
ศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :192 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [3. ตติยปัณณาสก์] 2. อันธกวินทวรรค 4. อันธกวินทสูตร
2. เธอทั้งหลายพึงยังภิกษุเหล่านั้นให้สมาทาน ให้ตั้งมั่น ให้ดำรงอยู่
ในอินทรีย์สังวรศีลว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย มาเถิด ขอท่านทั้งหลาย
จงเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย มีสติเป็นเครื่องรักษา1
มีสติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตน2 มีใจรักษาดีแล้ว ประกอบด้วยจิต
ที่มีสติเป็นเครื่องรักษาอยู่’
3. เธอทั้งหลายพึงยังภิกษุเหล่านั้นให้สมาทาน ให้ตั้งมั่น ให้ดำรงอยู่ใน
การพูดมีที่จบว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย มาเถิด ขอท่านทั้งหลายจงเป็น
ผู้พูดน้อย พูดให้มีที่จบ’
4. เธอทั้งหลายพึงยังภิกษุเหล่านั้นให้สมาทาน ให้ตั้งมั่น ให้ดำรงอยู่
ในความสงบกายว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย มาเถิด ขอท่านทั้งหลาย
จงอยู่ป่าเป็นวัตร จงอาศัยเสนาสนะอันเงียบสงัด คือป่าโปร่งและ
ป่าทึบ’
5. เธอทั้งหลายพึงยังภิกษุเหล่านั้นให้สมาทาน ให้ตั้งมั่น ให้ดำรงอยู่ใน
สัมมาทัสสนะ(ความเห็นชอบ)ว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย มาเถิด ขอท่าน
ทั้งหลายจงเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ3 ประกอบด้วยสัมมาทัสสนะ’
อานนท์ เธอทั้งหลายพึงยังพวกภิกษุใหม่ บวชได้ไม่นาน เพิ่งมาสู่ธรรมวินัย
นี้ให้สมาทาน ให้ตั้งมั่น ให้ดำรงอยู่ในธรรม 5 ประการนี้แล
อันธกวินทสูตรที่ 4 จบ

เชิงอรรถ :
1 สติเป็นเครื่องรักษา หมายถึงสติเป็นเครื่องรักษาทวาร (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/114/48)
2 สติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตน ในที่นี้หมายถึงสติที่ประกอบด้วยญาณเป็นเครื่องคุ้มครองทวาร (องฺ.ปญฺจก.อ.
3/114/48)
3 สัมมาทิฏฐิ ในที่นี้หมายถึงมีสัมมาทิฏฐิ 5 ประการ คือ (1) กัมมัสสกตสัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบว่าสัตว์มี
กรรมเป็นของตน) (2) ฌานสัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบในขั้นฌาน) (3) วิปัสสนาสัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบในขั้น
วิปัสสนา) (4) มัคคสัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบในขั้นอริยมรรค) (5) ผลสัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบในขั้นอริยผล)
(องฺ.ปญฺจก.อ. 3/114/48)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :193 }