เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [3. ตติยปัณณาสก์] 2. อันธกวินทวรรค 1. กุลูปกสูตร
2. อันธกวินทวรรค
หมวดว่าด้วยหมู่บ้านอันธกวินทะ

1. กุลูปกสูตร
ว่าด้วยธรรมของภิกษุผู้เข้าไปสู่ตระกูล
[111] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เข้าไปสู่ตระกูลประกอบ
ด้วยธรรม 5 ประการ ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่เป็น
ที่ยกย่องในตระกูลทั้งหลาย
ธรรม 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ทำความคุ้นเคยกับผู้ไม่คุ้นเคย 2. สั่งการทั้งที่ตนไม่ได้เป็นใหญ่
3. คบหาตระกูลที่แตกแยกกัน 4. พูดกระซิบที่หู
5. ขอมากเกินไป
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เข้าไปสู่ตระกูลประกอบด้วยธรรม 5 ประการนี้แล ย่อม
ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่เป็นที่ยกย่องในตระกูลทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เข้าไปสู่ตระกูลประกอบด้วยธรรม 5 ประการ ย่อม
เป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องในตระกูลทั้งหลาย
ธรรม 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ไม่ทำความคุ้นเคยกับผู้ไม่คุ้นเคย 2. ไม่สั่งการทั้งที่ตนไม่ได้เป็นใหญ่
3. ไม่คบตระกูลที่แตกแยกกัน 4. ไม่พูดกระซิบที่หู
5. ไม่ขอมากเกินไป
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เข้าไปสู่ตระกูลประกอบด้วยธรรม 5 ประการนี้แล ย่อม
เป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องในตระกูลทั้งหลาย
กุลูปกสูตรที่ 1 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :189 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [3. ตติยปัณณาสก์] 2. อันธกวินทวรรค 2. ปัจฉาสมณสูตร
2. ปัจฉาสมณสูตร
ว่าด้วยธรรมของภิกษุผู้เป็นปัจฉาสมณะ1
[112] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม 5 ประการ ไม่ควรพาไป
เป็นปัจฉาสมณะ
ธรรม 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. เดินห่างนัก หรือใกล้นัก
2. ไม่รับบาตรหรือของในบาตร2
3. เมื่อพระอุปัชฌาย์พูดใกล้อาบัติก็ไม่ห้าม3
4. เมื่อพระอุปัชฌาย์กำลังพูดอยู่ก็พูดแทรกขึ้น
5. มีปัญญาทราม โง่เขลา เป็นคนเซอะ4
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม 5 ประการนี้แล ไม่ควรพาไปเป็น
ปัจฉาสมณะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม 5 ประการ จึงควรพาไปเป็น
ปัจฉาสมณะ

เชิงอรรถ :
1 ปัจฉาสมณะ หมายถึงพระผู้ติดตาม เช่น พระอานนท์เป็นปัจฉาสมณะของพระพุทธเจ้า ดู วิ.มหา. (แปล)
2/226/393
2 หมายถึงเมื่ออุปัชฌาย์บิณฑบาตกลับมา ก็ไม่ให้บาตรเปล่าของตนแล้วรับบาตรของท่าน หรือไม่รับสิ่งของ
ที่ท่านให้จากบาตรนั้น (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/112/48)
3 หมายถึงไม่รู้ว่า คำพูดนี้ทำให้ต้องอาบัติ หรือแม้รู้ก็ไม่ห้ามว่า ไม่ควรพูดอย่างนี้ (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/
112/48)
4 เป็นคนเซอะ แปลจากบาลีว่า ‘เอฬมูโค’ อรรถกถาอธิบายว่า ‘ปคฺฆริตเขฬมูโค’ แปลว่าเป็นใบ้มีน้ำลายไหล
(องฺ.ปญฺจก.อ. 3/112/48) แต่ในฎีกาอภิธานัปปทีปิกา อธิบายว่า หมายถึงผู้ไม่ฉลาดพูดและไม่ฉลาดฟัง
(วตฺตุํ โสตุญฺจ อกุสโล, วจเน สวเน จ อกุสโล) และแยกอธิบายอีกว่า เอโฬ หมายถึง พธิโร (คนหูหนวก)
มูโค หมายถึง อวจโน (พูดไม่ได้) หรือหมายถึงคนโอ้อวด (สเ�ปิ เอฬมูโค) (อภิธา.ฏีกา คาถา 734)
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉบับ “PALI TEXT SOCIETY” ให้ความหมายว่า idiot (โง่, บ้า,
จิตทราม) หรือ lack-wit (ขาดสติ) (The Book of the Gradual Sayings, VOL.III, PP. 106,132)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :190 }