เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [3. ตติยปัณณาสก์] 1. ผาสุวิหารวรรค 9. จาตุททิสสูตร
3. เป็นผู้ประกอบด้วยปัญญาขันธ์อันเป็นของพระอเสขะ
4. เป็นผู้ประกอบด้วยวิมุตติขันธ์อันเป็นของพระอเสขะ
5. เป็นผู้ประกอบด้วยวิมุตติญาณทัสสนขันธ์อันเป็นของพระอเสขะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม 5 ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควรแก่ของ
ที่เขานำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
อเสขสูตรที่ 8 จบ

9. จาตุททิสสูตร
ว่าด้วยธรรมของภิกษุผู้เที่ยวไปในทิศทั้งสี่1
[109] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม 5 ประการ เป็นผู้เที่ยวไป
ในทิศทั้งสี่
ธรรม 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์ เพียบพร้อมด้วย
อาจาระและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่
ในสิกขาบททั้งหลาย
2. เป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ฟังมากซึ่งธรรมทั้งหลาย
ที่มีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง มีความงาม
ในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์
บริบูรณ์ ครบถ้วน แล้วทรงจำไว้ได้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดดี
ด้วยทิฏฐิ
3. เป็นผู้สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย-
เภสัชชบริขารตามแต่จะได้

เชิงอรรถ :
1 ผู้เที่ยวไปในทิศทั้งสี่ ในที่นี้หมายถึงพระขีณาสพ (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/109-110/47)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :186 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [3. ตติยปัณณาสก์] 1. ผาสุวิหารวรรค 10. อรัญญสูตร
4. เป็นผู้ได้ฌาน 4 อันมีในจิตยิ่งซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก
5. ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไป
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม 5 ประการนี้แล เป็นผู้เที่ยวไปใน
ทิศทั้งสี่
จาตุททิสสูตรที่ 9 จบ

10. อรัญญสูตร
ว่าด้วยคุณสมบัติของภิกษุผู้ควรอยู่ในป่า
[110] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม 5 ประการ เป็นผู้ควรอาศัย
เสนาสนะอันเงียบสงัด คือ ป่าโปร่ง และป่าทึบ1
ธรรม 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในพระปาติโมกข์ เพียบพร้อมด้วย
อาจาระและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทานศึกษา
อยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
2. เป็นพหูสูต ฯลฯ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ
3. เป็นผู้ปรารภความเพียร มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่นมั่นคง
ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย

เชิงอรรถ :
1 ผู้ควรอาศัยเสนาสนะอันเงียบสงัดคือป่าโปร่งและป่าทึบ ในที่นี้หมายถึงพระขีณาสพ (องฺ.ปญฺจก.อ.
3/109-110/47)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :187 }