เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [3. ตติยปัณณาสก์] 1. ผาสุวิหารวรรค 2. อุสสังกิตสูตร
ผู้มีสุตะน้อยมีความครั่นคร้ามใด แต่ผู้เป็นพหูสูตหามีความครั่นคร้ามนั้นไม่ ฉะนั้น
ธรรมนี้จึงชื่อว่าเครื่องทำความแกล้วกล้าสำหรับภิกษุผู้เป็นเสขะ
ผู้เกียจคร้านมีความครั่นคร้ามใด แต่ผู้ปรารภความเพียรหามีความครั่นคร้าม
นั้นไม่ ฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่าเครื่องทำความแกล้วกล้าสำหรับภิกษุผู้เป็นเสขะ
ผู้มีปัญญาทรามมีความครั่นคร้ามใด แต่ผู้มีปัญญาหามีความครั่นคร้ามนั้นไม่
ฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่าเครื่องทำความแกล้วกล้าสำหรับภิกษุผู้เป็นเสขะ
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเครื่องทำความแกล้วกล้าสำหรับภิกษุผู้เป็นเสขะ 5 ประการ
นี้แล
สารัชชสูตรที่ 1 จบ

2. อุสสังกิตสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ทำให้น่ารังเกียจ
[102] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม 5 ประการ ย่อมเป็นที่
รังเกียจสงสัยว่า ‘เป็นภิกษุชั่ว’ แม้จะเป็นผู้มีอกุปปธรรม1ก็ตาม
ธรรม 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. เป็นผู้มีหญิงแพศยา2เป็นโคจร3
2. เป็นผู้มีหญิงหม้ายเป็นโคจร

เชิงอรรถ :
1 ผู้มีอกุปปธรรม ในที่นี้หมายถึงพระขีณาสพ (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/102/46)
2 หญิงแพศยา หมายถึงหญิงที่เลี้ยงชีพด้วยอาศัยเรือนร่างของตน (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/102/46)
3 โคจร ในที่นี้หมายถึงการไปมาหาสู่บ่อย ๆ (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/103/46) อีกนัยหยึ่ง หมายถึงสถานที่
สำหรับเข้าไปเพื่อบิณฑบาต หรือเข้าไปเพื่อสร้างความคุ้นเคยฉันมิตร หญิงเหล่านี้ ภิกษุไม่ควรเข้าไปหา
เพื่อสร้างความคุ้นเคยฉันมิตร เพราะจะเป็นเหตุก่ออันตรายแก่สมณภาวะและก่อคำติเตียนแก่ภิกษุผู้บริสุทธิ์ได้
(องฺ.ปญฺจก.ฏีกา 3/101-104/48)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :176 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [3. ตติยปัณณาสก์] 1. ผาสุวิหารวรรค 3. มหาโจรสูตร
3. เป็นผู้มีสาวเทื้อ1เป็นโคจร
4. เป็นผู้มีบัณเฑาะก์2เป็นโคจร
5. เป็นผู้มีภิกษุณีเป็นโคจร
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม 5 ประการนี้แล ย่อมเป็นที่รังเกียจ
สงสัยว่า ‘เป็นภิกษุชั่ว’ แม้จะเป็นผู้มีอกุปปธรรมก็ตาม
อุสสังกิตสูตรที่ 2 จบ

3. มหาโจรสูตร
ว่าด้วยองค์ประกอบของมหาโจร3
[103] ภิกษุทั้งหลาย มหาโจรประกอบด้วยองค์ 5 ประการ ย่อมงัดแงะบ้าง
ทำการปล้นบ้าง ล้อมปล้นเรือนหลังเดียวบ้าง ดักปล้นในทางเปลี่ยวบ้าง
องค์ 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
มหาโจรในโลกนี้
1. อาศัยที่ขรุขระ 2. อาศัยป่ารก
3. อาศัยผู้มีอิทธิพล 4. แจกจ่ายโภคทรัพย์
5. เที่ยวไปคนเดียว
มหาโจรอาศัยที่ขรุขระ เป็นอย่างไร
คือ มหาโจรในโลกนี้อาศัยเกาะแก่งแห่งแม่น้ำ หรือที่ขรุขระแห่งภูเขา มหาโจร
อาศัยที่ขรุขระเป็นอย่างนี้แล

เชิงอรรถ :
1 สาวเทื้อ หมายถึงสาวแก่ (มหลฺลิกกุมารี) (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/102/46)
2 บัณเฑาะก์ หมายถึงขันที ชายที่ถูกตอน พจนานุกรมบาลีสันกฤต แปลว่า กระเทย มี 3 จำพวก คือ
บัณเฑาะก์ที่เป็นมนุษย์ บัณเฑาะก์ที่เป็นอมนุษย์ บัณเฑาะก์ที่เป็นสัตว์ดิรัจฉาน ดู วิ.มหา. (แปล) 1/56/43
3 ดู องฺ.ติก. (แปล) 20/51/211

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :177 }