เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 5. กกุธวรรค 9. สีหสูตร
ภิกษุทั้งหลาย คำว่า สีหะ นี้เป็นชื่อของตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
อาการที่ตถาคตแสดงธรรมแก่บริษัท เป็นสีหนาท1ของตถาคตแท้ คือ ตถาคต
1. แม้จะแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย ก็แสดงโดยเคารพ2 ไม่แสดง
โดยไม่เคารพ
2. แม้จะแสดงธรรมแก่ภิกษุณีทั้งหลาย ก็แสดงโดยเคารพ ไม่แสดง
โดยไม่เคารพ
3. แม้จะแสดงธรรมแก่อุบาสกทั้งหลาย ก็แสดงโดยเคารพ ไม่แสดง
โดยไม่เคารพ
4. แม้จะแสดงธรรมแก่อุบาสิกาทั้งหลาย ก็แสดงโดยเคารพ ไม่แสดง
โดยไม่เคารพ
5. แม้จะแสดงธรรมแก่ปุถุชนทั้งหลาย ก็แสดงโดยเคารพ ไม่แสดงโดย
ไม่เคารพ โดยที่สุดแม้จะแสดงแก่คนขอทานและพรานนก3 ก็แสดง
โดยเคารพ ไม่แสดงโดยไม่เคารพ
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
ภิกษุทั้งหลาย เพราะตถาคตเป็นผู้หนักในธรรม เคารพธรรม
สีหสูตรที่ 9 จบ

เชิงอรรถ :
1 สีหนาท หมายถึงคำพูดที่ตรัสด้วยท่าทีองอาจดังพญาราชสีห์ ไม่ทรงหวั่นเกรงผู้ใด เพราะทรงมั่นพระทัย
ในศีล สมาธิ และปัญญาของพระองค์ (ที.สี.ฏีกา 403/432)
2 คำว่า โดยเคารพ แปลจากคำว่า “สกฺกจฺจํ” ในที่นี้หมายถึงความตั้งใจจริง เอาจริงเอาจังถือเป็นเรื่องสำคัญ
ดุจในประโยคว่า “วจฺฉกํ สกฺกจฺจํ อุปนิชฺฌายติ” แปลว่า “จ้องดูลูกวัวอย่างสนใจจริงจัง” (วิ.ม. 5/255/19)
และเทียบ ที.ปา.อ. 267/147, องฺ.ปญฺจก.อ. 3/154/59
3 ตามนัย องฺ.ปญฺจก.อ. 3/99/45

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :169 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 5. กกุธวรรค 10. กกุธเถรสูตร
10. กกุธเถรสูตร
ว่าด้วยกกุธเทพบุตรกับพระมหาโมคคัลลานะ
[100] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม เขตกรุงโกสัมพี
สมัยนั้นแล บุตรเจ้าโกลิยะนามว่ากกุธะเป็นอุปัฏฐากของท่านพระมหาโมคคัลลานะ
สิ้นชีพิตักษัยได้ไม่นาน เข้าถึงชั้นกายมโนมัย1ชั้นใดชั้นหนึ่ง เป็นผู้ได้อัตภาพใหญ่
เหมือนคามเขตในแคว้นมคธสองสามหมู่ เพราะการได้อัตภาพนั้น เขาจึงไม่ทำตนให้
เดือดร้อน ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน
ครั้งนั้น กกุธเทพบุตรได้เข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ ไหว้แล้ว
ยืนอยู่ ณ ที่สมควร ครั้นแล้ว ได้กล่าวอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระเทวทัต
เกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘เราจักปกครองภิกษุสงฆ์ และพระเทวทัตได้เสื่อมจาก
ฤทธิ์นั้นพร้อมกับจิตตุปบาท’ กกุธเทพบุตรครั้นกล่าวดังนี้แล้ว ได้ไหว้ท่านพระมหา-
โมคคัลลานะทำประทักษิณแล้วหายไป ณ ที่นั้น นั่นเอง
ลำดับนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุตรของเจ้าโกลิยะนามว่ากกุธะเป็นอุปัฏฐากของ
ข้าพระองค์ สิ้นชีพิตักษัยได้ไม่นาน เข้าถึงชั้นกายมโนมัยชั้นใดชั้นหนึ่ง เป็นผู้
ได้อัตภาพใหญ่เหมือนคามเขตในแคว้นมคธสองสามหมู่ เพราะการได้อัตภาพนั้น
เขาจึงไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ต่อมากกุธเทพบุตรได้เข้าไป
หาข้าพระองค์ถึงที่อยู่ ไหว้แล้ว ยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับข้าพระองค์
ดังนี้ว่า ‘ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระเทวทัตเกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า เราจักปกครอง


เชิงอรรถ :
1 ดูเชิงอรรถที่ 1 ข้อ 44 (มนาปทายีสูตร) หน้า 72 ในเล่มนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :170 }