เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 5. กกุธวรรค 7. กถาสูตร
7. กถาสูตร
ว่าด้วยกถาเครื่องขัดเกลากิเลส
[97] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม 5 ประการ เจริญอานาปาน-
สติกัมมัฏฐานอยู่ ไม่นานนัก ย่อมบรรลุอกุปปธรรม
ธรรม 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. เป็นผู้มีธุระน้อย มีกิจน้อย เลี้ยงง่าย สันโดษในบริขารแห่งชีวิต
2. เป็นผู้มีอาหารน้อย หมั่นประกอบความไม่เห็นแก่ปากแก่ท้อง
3. เป็นผู้มีการหลับน้อย หมั่นประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่
4. เป็นผู้ได้กถาเป็นเครื่องขัดเกลาอย่างยิ่ง เป็นสัปปายะแห่งความเป็น
ไปของจิต คือ อัปปิจฉกถา สันตุฏฐิกถา ปวิเวกกถา อสังสัคคกถา
วีริยารัมภกถา สีลกถา สมาธิกถา ปัญญากถา วิมุตติกถา วิมุตติ-
ญาณทัสสนกถา ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้ไม่ลำบาก
5. พิจารณาจิตตามที่หลุดพ้นแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม 5 ประการนี้แล เจริญอานาปานสติ-
กัมมัฏฐานอยู่ ไม่นานนัก ย่อมบรรลุอกุปปธรรม
กถาสูตรที่ 7 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :167 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 5. กกุธวรรค 9. สีหสูตร
8. อารัญญกสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตร
[98] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม 5 ประการ ทำอานาปานสติ-
กัมมัฏฐานให้มากอยู่ ไม่นานนัก ย่อมบรรลุอกุปปธรรม
ธรรม 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. เป็นผู้มีธุระน้อย มีกิจน้อย เลี้ยงง่าย สันโดษในบริขารแห่งชีวิต
2. เป็นผู้มีอาหารน้อย หมั่นประกอบความไม่เห็นแก่ปากแก่ท้อง
3. เป็นผู้มีการหลับน้อย หมั่นประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่
4. ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร อยู่ในเสนาสนะอันเงียบสงัด
5. พิจารณาจิตตามที่หลุดพ้นแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 5 ประการนี้แล ทำอานาปานสติ-
กัมมัฏฐานให้มากอยู่ ไม่นานนัก ย่อมบรรลุอกุปปธรรม
อารัญญกสูตรที่ 8 จบ

9. สีหสูตร
ว่าด้วยพญาราชสีห์
[99] ภิกษุทั้งหลาย ในเวลาเย็น พญาราชสีห์ออกจากที่อาศัยแล้วบิดกาย
ชำเลืองดูรอบ ๆ ทั้ง 4 ทิศ บรรลือสีหนาท 3 ครั้ง แล้วก็หลีกไปหากิน พญา-
ราชสีห์นั้น ถ้าแม้จะจับช้าง ก็จับได้แม่นยำ ไม่พลาด แม้จะจับกระบือ ก็จับได้
แม่นยำ ไม่พลาด แม้จะจับโค ก็จับได้แม่นยำ ไม่พลาด แม้จะจับเสือเหลือง ก็จับได้
แม่นยำ ไม่พลาด แม้จะจับพวกสัตว์เล็กๆ โดยที่สุดแม้กระต่ายและแมว ก็จับได้
แม่นยำ ไม่พลาดทีเดียว ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะพญาราชสีห์นั้นคิดว่า “ช่องทาง
หากินของเราอย่าเสียไป”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :168 }