เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 5. กกุธวรรค 6. สุตธรสูตร
6. สุตธรสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้ทรงสุตะ
[96] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม 5 ประการ เสพ1อานาปาน-
สติกัมมัฏฐานอยู่ ไม่นานนัก ย่อมบรรลุอกุปปธรรม
ธรรม 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. เป็นผู้มีธุระน้อย มีกิจน้อย เลี้ยงง่าย สันโดษในบริขารแห่งชีวิต
2. เป็นผู้มีอาหารน้อย หมั่นประกอบความไม่เห็นแก่ปากแก่ท้อง
3. เป็นผู้มีการหลับน้อย หมั่นประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่
4. เป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ฟังมากซึ่งธรรมทั้งหลาย
ที่มีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง มีความงามใน
ที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์
ครบถ้วน แล้วทรงจำไว้ได้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดดี
ด้วยทิฏฐิ
5. พิจารณาจิตตามที่หลุดพ้นแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม 5 ประการนี้แล เสพอานาปานสติ-
กัมมัฏฐานอยู่ ไม่นานนัก ย่อมบรรลุอกุปปธรรม
สุตธรสูตรที่ 6 จบ

เชิงอรรถ :
1 ดูเชิงอรรถที่ 2 ข้อ 57 (ฐานสูตร) หน้า 102 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :166 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 5. กกุธวรรค 7. กถาสูตร
7. กถาสูตร
ว่าด้วยกถาเครื่องขัดเกลากิเลส
[97] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม 5 ประการ เจริญอานาปาน-
สติกัมมัฏฐานอยู่ ไม่นานนัก ย่อมบรรลุอกุปปธรรม
ธรรม 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. เป็นผู้มีธุระน้อย มีกิจน้อย เลี้ยงง่าย สันโดษในบริขารแห่งชีวิต
2. เป็นผู้มีอาหารน้อย หมั่นประกอบความไม่เห็นแก่ปากแก่ท้อง
3. เป็นผู้มีการหลับน้อย หมั่นประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่
4. เป็นผู้ได้กถาเป็นเครื่องขัดเกลาอย่างยิ่ง เป็นสัปปายะแห่งความเป็น
ไปของจิต คือ อัปปิจฉกถา สันตุฏฐิกถา ปวิเวกกถา อสังสัคคกถา
วีริยารัมภกถา สีลกถา สมาธิกถา ปัญญากถา วิมุตติกถา วิมุตติ-
ญาณทัสสนกถา ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้ไม่ลำบาก
5. พิจารณาจิตตามที่หลุดพ้นแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม 5 ประการนี้แล เจริญอานาปานสติ-
กัมมัฏฐานอยู่ ไม่นานนัก ย่อมบรรลุอกุปปธรรม
กถาสูตรที่ 7 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :167 }