เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 5. กกุธวรรค 2. ทุติยสัมปทาสูตร
5. กกุธวรรค
หมวดว่าด้วยกกุธเทพบุตร
1. ปฐมสัมปทาสูตร
ว่าด้วยสัมปทา สูตรที่ 1
[91] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย สัมปทา(ความถึงพร้อม)
5 ประการนี้
สัมปทา 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. สัทธาสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศรัทธา)
2. สีลสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศีล)
3. สุตสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยสุตะ)
4. จาคสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยจาคะ)
5. ปัญญาสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยปัญญา)
ภิกษุทั้งหลาย สัมปทา 5 ประการนี้แล
ปฐมสัมปทาสูตรที่ 1 จบ

2. ทุติยสัมปทาสูตร
ว่าด้วยสัมปทา สูตรที่ 2
[92] ภิกษุทั้งหลาย สัมปทา 5 ประการนี้
สัมปทา 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. สีลสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศีล)
2. สมาธิสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยสมาธิ)
3. ปัญญาสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยปัญญา)
4. วิมุตติสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยวิมุตติ)
5. วิมุตติญาณทัสสนสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ)
ภิกษุทั้งหลาย สัมปทา 5 ประการนี้แล
ทุติยสัมปทาสูตรที่ 2 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :163 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 5. กกุธวรรค 4. ผาสุวิหารสูตร
3. พยากรณสูตร
ว่าด้วยการพยากรณ์อรหัตตผล
[93] ภิกษุทั้งหลาย การพยากรณ์อรหัตตผล1 5 ประการนี้
การพยากรณ์อรหัตตผล 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. พยากรณ์อรหัตตผล เพราะโง่เขลา เพราะหลงงมงาย
2. มีความปรารถนาชั่ว ถูกความปรารถนาครอบงำ จึงพยากรณ์
อรหัตตผล
3. พยากรณ์อรหัตตผล เพราะความบ้า เพราะจิตฟุ้งซ่าน
4. พยากรณ์อรหัตตผล เพราะสำคัญว่าได้บรรลุ
5. พยากรณ์อรหัตตผลโดยถูกต้อง
ภิกษุทั้งหลาย การพยากรณ์อรหัตตผล 5 ประการนี้แล
พยากรณสูตรที่ 3 จบ

4. ผาสุวิหารสูตร
ว่าด้วยผาสุวิหารธรรม2
[94] ภิกษุทั้งหลาย ผาสุวิหารธรรม 5 ประการนี้
ผาสุวิหารธรรม 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. สงัดจากกาม และอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ3 อยู่
2. เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปบรรลุทุติยฌาน ฯลฯ อยู่
3. เพราะปีติจางคลายไปมีอุเบกขามีสติสัมปชัญญะเสวยสุขด้วยนาม
กายบรรลุตติยฌาน ฯลฯ อยู่

เชิงอรรถ :
1 พยากรณ์อรหัตตผล ในที่นี้หมายถึงการกล่าวอ้างว่าตนได้บรรลุอรหัตตผล (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/93/44)
2 ผาสุวิหารธรรม หมายถึงธรรมเครื่องอยู่เป็นสุข (สุขวิหาระ) (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/94-95/44)
3 ฯลฯ ที่ปรากฏในสูตรนี้ ดูความเต็มในข้อ 28 (ปัญจังคิกสูตร) หน้า 36-38 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :164 }