เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 4. เถรวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
5. ภิกษุผู้เป็นเสขะได้กถาเป็นเครื่องขัดเกลาอย่างยิ่ง เป็นสัปปายะแห่ง
ความเป็นไปของจิต คือ อัปปิจฉกถา สันตุฏฐิกถา ปวิเวกกถา
อสังสัคคกถา วีริยารัมภกถา สีลกถา สมาธิกถา ปัญญากถา
วิมุตติกถา วิมุตติญาณทัสสนกถา ตามความปรารถนา ได้โดย
ไม่ยาก ได้ไม่ลำบาก ไม่ละการหลีกเร้น ประกอบความสงบใจ
ภายใน นี้เป็นธรรมประการที่ 5 เป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ
ผู้เป็นเสขะ
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม 5 ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ
ผู้เป็นเสขะ
ทุติยเสขสูตรที่ 10 จบ
เถรวรรคที่ 4 จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

1. รชนียสูตร 2. วีตราคสูตร
3. กุหกสูตร 4. อัสสัทธสูตร
5. อักขมสูตร 6. ปฏิสัมภิทาปัตตสูตร
7. สีลวันตสูตร 8. เถรสูตร
9. ปฐมเสขสูตร 10. ทุติยเสขสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :162 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 5. กกุธวรรค 2. ทุติยสัมปทาสูตร
5. กกุธวรรค
หมวดว่าด้วยกกุธเทพบุตร
1. ปฐมสัมปทาสูตร
ว่าด้วยสัมปทา สูตรที่ 1
[91] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย สัมปทา(ความถึงพร้อม)
5 ประการนี้
สัมปทา 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. สัทธาสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศรัทธา)
2. สีลสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศีล)
3. สุตสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยสุตะ)
4. จาคสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยจาคะ)
5. ปัญญาสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยปัญญา)
ภิกษุทั้งหลาย สัมปทา 5 ประการนี้แล
ปฐมสัมปทาสูตรที่ 1 จบ

2. ทุติยสัมปทาสูตร
ว่าด้วยสัมปทา สูตรที่ 2
[92] ภิกษุทั้งหลาย สัมปทา 5 ประการนี้
สัมปทา 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. สีลสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศีล)
2. สมาธิสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยสมาธิ)
3. ปัญญาสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยปัญญา)
4. วิมุตติสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยวิมุตติ)
5. วิมุตติญาณทัสสนสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ)
ภิกษุทั้งหลาย สัมปทา 5 ประการนี้แล
ทุติยสัมปทาสูตรที่ 2 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :163 }