เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 4. เถรวรรค 10. ทุติยเสขสูตร
10. ทุติยเสขสูตร
ว่าด้วยธรรมของพระเสขะ สูตรที่ 2
[90] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม 5 ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่
ภิกษุผู้เป็นเสขะ
ธรรม 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ภิกษุผู้เป็นเสขะในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีกิจมาก มีกรณียกิจมาก ไม่
ฉลาดในกิจน้อยใหญ่ ละการหลีกเร้น ไม่ตามประกอบความสงบใจ1
ภายใน นี้เป็นธรรมประการที่ 1 เป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุ
ผู้เป็นเสขะ
2. ภิกษุผู้เป็นเสขะให้วันเวลาล่วงไปเพราะการงานเล็กน้อย ละการ
หลีกเร้น ไม่ประกอบความสงบใจภายใน นี้เป็นธรรมประการที่ 2
เป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุผู้เป็นเสขะ
3. ภิกษุผู้เป็นเสขะคลุกคลีกับพวกคฤหัสถ์และบรรพชิต ด้วยการ
คลุกคลีอย่างคฤหัสถ์ที่ไม่สมควร ละการหลีกเร้น ไม่ประกอบ
ความสงบใจภายใน นี้เป็นธรรมประการที่ 3 เป็นไปเพื่อความ
เสื่อมแก่ภิกษุผู้เป็นเสขะ
4. ภิกษุผู้เป็นเสขะเข้าไปยังหมู่บ้านในเวลาเช้านัก กลับมาในเวลาสายนัก
ละการหลีกเร้น ไม่ประกอบความสงบใจภายใน นี้เป็นธรรมประการ
ที่ 4 เป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุผู้เป็นเสขะ
5. ภิกษุผู้เป็นเสขะไม่ได้กถาเป็นเครื่องขัดเกลา เป็นสัปปายะแห่งความ
เป็นไปของจิต2 คืออัปปิจฉกถา (เรื่องความมักน้อย) สันตุฏฐิกถา
(เรื่องความสันโดษ) ปวิเวกกถา (เรื่องความสงัด) อสังสัคคกถา

เชิงอรรถ :
1 ความสงบใจ (เจโตสมถะ) ในที่นี้หมายถึงสมาธิกัมมัฏฐาน (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/90/43)
2 เป็นสัปปายะแห่งความเป็นไปของจิต หมายถึงเป็นที่สบายและเป็นอุปการะแก่การชักนำจิตเข้าสู่สมถะ
และวิปัสสนา คือความปลอดโปร่งแห่งจิต (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/90/43, องฺ.นวก.อ.3/1/285)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :160 }