เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 4. เถรวรรค 7. สีลวันตสูตร
3. เป็นผู้บรรลุนิรุตติปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในนิรุตติ)
4. เป็นผู้บรรลุปฏิภาณปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ)
5. เป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้านในการงานที่จะต้องช่วยกันทำ ทั้งงานสูง
และงานต่ำ1ของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ประกอบด้วยปัญญา
เป็นเครื่องพิจารณาอันเป็นอุบายในการงานที่จะต้องช่วยกันทำนั้น
สามารถทำได้ สามารถจัดได้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม 5 ประการนี้แล ย่อมเป็นที่รัก
เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ปฏิสัมภิทาปัตตสูตรที่ 6 จบ

7. สีลวันตสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้มีศีล
[87] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม 5 ประการ ย่อมเป็น
ที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ธรรม 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์ เพียบพร้อมด้วย
อาจาระ(มารยาท)และโคจร(การเที่ยวไป) มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย
สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
2. เป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ฟังมากซึ่งธรรมทั้งหลาย
ที่มีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง มีความงามใน
ที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์
บริบูรณ์ครบถ้วน แล้วทรงจำไว้ได้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดดี
ด้วยทิฏฐิ

เชิงอรรถ :
1 งานสูง หมายถึงงานย้อมจีวร หรืองานโบกทาพระเจดีย์ ตลอดถึงงานที่จะต้องช่วยกันทำที่โรงอุโบสถ
เรือนพระเจดีย์ เรือนต้นโพธิ์เป็นต้น (องฺ.ทสก.อ. 3/17/322)
งานต่ำ หมายถึงงานเล็กน้อยมีล้างเท้า และนวดเท้าเป็นต้น (องฺ.ทสก.อ. 3/17/322)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :155 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 4. เถรวรรค 8. เถรสูตร
3. เป็นผู้มีวาจางาม เจรจาถ้อยคำไพเราะ ประกอบด้วยวาจาชาวเมือง
ที่สละสลวย ไม่หยาบคาย ให้รู้ความหมายได้
4. เป็นผู้ได้ฌาน 4 อันมีในจิตยิ่ง ซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก
5. ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะ
สิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม 5 ประการนี้แล ย่อมเป็นที่รัก
เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
สีลวันตสูตรที่ 7 จบ

8. เถรสูตร
ว่าด้วยธรรมของพระเถระ
[88] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม 5 ประการ ย่อมเป็น
ผู้ปฏิบัติเพื่อไม่เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่สุขแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่ประโยชน์
แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ธรรม 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. เป็นรัตตัญญู1 บวชมานาน
2. เป็นผู้มีชื่อเสียง มียศ มีบริวารมาก ปรากฏแก่พวกคฤหัสถ์และ
บรรพชิต
3. เป็นผู้ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร

เชิงอรรถ :
1 รัตตัญญู เป็นตำแหน่งเอตทัคคะที่พระอัญญาโกณฑัญญะได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้า มีความหมายว่ารู้
ราตรีนาน คือบวช รู้แจ้งธรรม และเป็นพระขีณาสพก่อนพระสาวกทั้งหลาย (องฺ.เอกก.อ. 1/188/122)
แต่ในที่นี้หมายถึงเป็นผู้ผ่านมาหลายราตรี (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/88/42)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :156 }