เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 4. เถรวรรค 3. กุหกสูตร
3. เป็นผู้ปราศจากโมหะ
4. เป็นผู้ไม่ลบหลู่คุณท่าน
5. เป็นผู้ไม่ตีเสมอ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม 5 ประการนี้แล ย่อมเป็นที่รัก
เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
วีตราคสูตรที่ 2 จบ

3. กุหกสูตร
ว่าด้วยผู้หลอกลวง
[83] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม 5 ประการ ย่อมไม่
เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่เป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารี
ทั้งหลาย
ธรรม 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. เป็นผู้หลอกลวง1
2. เป็นผู้พูดป้อยอ2
3. เป็นผู้ทำนิมิต3
4. เป็นผู้พูดบีบบังคับ4
5. เป็นผู้แสวงหาลาภด้วยลาภ5

เชิงอรรถ :
1 หลอกลวง หมายถึงหลอกลวงด้วยอาการ 3 คือ (1) พูดเลียบเคียง (2) แสร้งแสดงอิริยาบถคือยืน เดิน
นั่ง นอนให้น่าเลื่อมใส (3) แสร้งปฏิเสธปัจจัย (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/83/83/41, องฺ.ปญฺจก.ฏีกา 3/83/43,
วิสุทธิ. 1/16/24) และดู อภิ.วิ. (แปล) 35/861/553
2 พูดป้อยอ หมายถึงพูดป้อยอมุ่งหวังลาภสักการะ และชื่อเสียง (องฺ.ปญฺจ.อ. 3/83/41, วิสุทธิ. 1/16/24)
ดู อภิ.วิ. (แปล) 35/862/553 ประกอบ
3 ทำนิมิต หมายถึงการกระทำทางกายวาจาเพื่อให้คนอื่นให้ทาน เช่นการพูดเป็นเลศนัย พูดเลียบเคียง
(อภิ.วิ.อ.863/523,วิสุทฺธิ. 1/16/24)
4 พูดบีบบังคับ หมายถึงการด่า การพูดข่ม พูดนินทาตำหนิโทษ พูดเหยียดหยาม และการนำเรื่องไป
ประจาน ตลอดถึงการพูดสรรเสริญต่อหน้า นินทาลับหลัง (ปุรโต มธุรํ ภณิตฺวา ปรมฺมุเข อวณฺณภาสิตา)
(อภิ.วิ.อ.864/524, วิสุทธิ. 1/16/24-25)
5 แสวงหาลาภด้วยลาภ หมายถึงได้อะไรเอามาฝากเขา ทำให้เขาเกรงใจ ต้องให้ตอบแทน (วิสุทฺธิ. 1/16/25)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :151 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 4. เถรวรรค 4. อัสสัทธสูตร
ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม 5 ประการนี้แล ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่
พอใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่เป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม 5 ประการ ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่
เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ธรรม 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. เป็นผู้ไม่หลอกลวง
2. เป็นผู้ไม่พูดป้อยอ
3. เป็นผู้ไม่ทำนิมิต
4. เป็นผู้ไม่พูดบีบบังคับ
5. เป็นผู้ไม่แสวงหาลาภด้วยลาภ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม 5 ประการนี้แล ย่อมเป็นที่รัก
เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
กุหกสูตรที่ 3 จบ

4. อัสสัทธสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้ไม่มีศรัทธา
[84] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม 5 ประการ ย่อมไม่
เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่เป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารี
ทั้งหลาย
ธรรม 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. เป็นผู้ไม่มีศรัทธา
2. เป็นผู้ไม่มีหิริ
3. เป็นผู้ไม่มีโอตตัปปะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :152 }