เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 3. โยธาชีวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
สามเณร ก็พึงหวังข้อนี้ได้ว่า ‘เธอเหล่านั้นจักไม่ยินดีประพฤติ
พรหมจรรย์ จักต้องอาบัติเศร้าหมองบางอย่าง หรือจักบอกคืน
สิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์’
ภัยในอนาคตประการที่ 4 นี้ ยังไม่เกิดขึ้นในบัดนี้ แต่จักเกิดขึ้นในกาลต่อไป
ภัยนั้น เธอทั้งหลายพึงรับรู้ไว้ และพึงพยายามเพื่อละภัยนั้นเสีย
5. ในอนาคต หมู่ภิกษุจักอยู่คลุกคลีกับพวกคนวัดและเหล่าสามเณร
เมื่ออยู่คลุกคลีกับพวกคนวัดและเหล่าสามเณร ก็พึงหวังข้อนี้ได้ว่า
‘เธอเหล่านั้นจักบริโภคของที่สะสมไว้หลายอย่าง จักทำนิมิตอย่าง
หยาบไว้ที่แผ่นดินบ้าง ที่ปลายของเขียวบ้าง1’
ภัยในอนาคตประการที่ 5 นี้ ยังไม่เกิดขึ้นในบัดนี้ แต่จักเกิดขึ้นในกาลต่อไป
ภัยนั้น เธอทั้งหลายพึงรับรู้ไว้ และพึงพยายามเพื่อละภัยนั้นเสีย
ภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคต 5 ประการนี้ ยังไม่เกิดขึ้นในปัจจุบัน แต่จัก
เกิดขึ้นในกาลต่อไป ภัยเหล่านั้น เธอทั้งหลายพึงรับรู้ไว้ และพึงพยายามเพื่อละภัย
เหล่านั้นเสีย
จตุตถอนาคตภยสูตรที่ 10 จบ
โยธาชีววรรคที่ 3 จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

1. ปฐมเจโตวิมุตติผลสูตร 2. ทุติยเจโตวิมุตติผลสูตร
3. ปฐมธัมมวิหารีสูตร 4. ทุติยธัมมวิหารีสูตร
5. ปฐมโยธาชีวสูตร 6. ทุติยโยธาชีวสูตร
7. อนาคตภยสูตร 8. ทุติยอนาคตภยสูตร
9. ตติยอนาคตภยสูตร 10. จตุตถอนาคตภยสูตร


เชิงอรรถ :
1 หมายถึงการสั่งให้ขุดดิน ให้ตัดต้นไม้ กิ่งไม้ และใบหญ้า ซึ่งจะเป็นเหตุให้ต้องอาบัติ (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/80/
40-41)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :148 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 4. เถรวรรค 1. รชนียสูตร
4. เถรวรรค
หมวดว่าด้วยธรรมของพระเถระ

1. รชนียสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้กำหนัด
[81] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม
5 ประการ ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่เป็นที่ยกย่องของ
เพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ธรรม 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. กำหนัดในสิ่ง1ที่เป็นเหตุให้กำหนัด
2. ขัดเคืองในสิ่งที่เป็นเหตุให้ขัดเคือง
3. หลงในสิ่งที่เป็นเหตุให้หลง
4. โกรธในสิ่งที่เป็นเหตุให้โกรธ
5. มัวเมาในสิ่งที่เป็นเหตุให้มัวเมา
ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม 5 ประการนี้แล ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่
พอใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่เป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม 5 ประการ ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่
เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ธรรม 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ไม่กำหนัดในสิ่งที่เป็นเหตุให้กำหนัด
2. ไม่ขัดเคืองในสิ่งที่เป็นเหตุให้ขัดเคือง
3. ไม่หลงในสิ่งที่เป็นเหตุให้หลง

เชิงอรรถ :
1 สิ่ง ในที่นี้หมายถึงอารมณ์ทั้งหลายที่เป็นปัจจัยให้เกิดกำหนัด ขัดเคือง หลง โกรธ และมัวเมา (องฺ.ปญฺจก.อ.
3/81/41)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :149 }