เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 3. โยธาชีวรรค 10. จตุตถอนาคตภยสูตร
ภัยในอนาคต 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ในอนาคต หมู่ภิกษุจักเป็นผู้ชอบที่จีวรสวยงาม เมื่อชอบจีวรที่
สวยงาม ก็จักละความเป็นผู้ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร จักละเสนาสนะ
อันเงียบสงัด คือป่าโปร่ง และป่าทึบ ไปรวมกันอยู่ที่หมู่บ้าน นิคม
และเมืองหลวง และจักถึงการแสวงหาที่ไม่สมควร ไม่เหมาะสม
หลายอย่าง เพราะจีวรเป็นเหตุ
ภัยในอนาคตประการที่ 1 นี้ ยังไม่เกิดขึ้นในบัดนี้ แต่จักเกิดขึ้นในกาลต่อไป
ภัยนั้น เธอทั้งหลายพึงรับรู้ไว้ และพึงพยายามเพื่อละภัยนั้นเสีย
2. ในอนาคต หมู่ภิกษุจักเป็นผู้ชอบบิณฑบาตที่มีรสอร่อย เมื่อชอบ
บิณฑบาตที่มีรสอร่อย ก็จักละความเป็นผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร
จักละเสนาสนะอันเงียบสงัด คือป่าโปร่ง และป่าทึบ ไปรวมกันอยู่ที่
หมู่บ้าน นิคม และเมืองหลวง แสวงหาบิณฑบาตที่มีรสเลิศอร่อย
และจักถึงการแสวงหาที่ไม่สมควร ไม่เหมาะสมหลายอย่าง เพราะ
บิณฑบาตเป็นเหตุ
ภัยในอนาคตประการที่ 2 นี้ ยังไม่เกิดขึ้นในบัดนี้ แต่จักเกิดขึ้นในกาลต่อไป
ภัยนั้น เธอทั้งหลายพึงรับรู้ไว้ และพึงพยายามเพื่อละภัยนั้นเสีย
3. ในอนาคต หมู่ภิกษุจักเป็นผู้ชอบเสนาสนะที่สวยงาม เมื่อชอบ
เสนาสนะที่สวยงาม ก็จักละการอยู่ป่าเป็นวัตร จักละเสนาสนะอัน
เงียบสงัด คือป่าโปร่ง และป่าทึบ ไปรวมกันอยู่ที่หมู่บ้าน นิคม
และเมืองหลวง และจักถึงการแสวงหาที่ไม่สมควร ไม่เหมาะสม
หลายอย่าง เพราะเสนาสนะเป็นเหตุ
ภัยในอนาคตประการที่ 3 นี้ ยังไม่เกิดขึ้นในบัดนี้ แต่จักเกิดขึ้นในกาลต่อไป
ภัยนั้น เธอทั้งหลายพึงรับรู้ไว้ และพึงพยายามเพื่อละภัยนั้นเสีย
4. ในอนาคต หมู่ภิกษุจักอยู่คลุกคลีกับภิกษุณี นางสิกขมานา1 และ
เหล่าสามเณร เมื่ออยู่คลุกคลีกับภิกษุณี นางสิกขมานา และเหล่า

เชิงอรรถ :
1 นางสิกขมานา หมายถึงสามเณรีผู้มีอายุ 18 ปีแล้วอีก 2 ปีจะครบบวชเป็นภิกษุณี ภิกษุณีสงฆ์สวดให้
สิกขาสมมติ คือตกลงให้สมาทานสิกขาบท 6 ประการ ตั้งแต่ ปาณาติปาตา เวรมณี ถึง วิกาลโภชนา
เวรมณี ให้รักษาอย่างเคร่งครัดไม่ขาดเลยตลอดเวลา 2 ปีเต็ม (ถ้าล่วงละเมิดข้อใดข้อหนึ่ง ต้องสมาทาน
ตั้งต้นไปใหม่อีก 2 ปี) ในระหว่างที่สมาทานสิกขาบท 6 ประการนี้ เรียกว่า นางสิกขมานา (วิ.ภิกฺขุนี.
(แปล) 3/1078-1079/297-298)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :147 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 3. โยธาชีวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
สามเณร ก็พึงหวังข้อนี้ได้ว่า ‘เธอเหล่านั้นจักไม่ยินดีประพฤติ
พรหมจรรย์ จักต้องอาบัติเศร้าหมองบางอย่าง หรือจักบอกคืน
สิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์’
ภัยในอนาคตประการที่ 4 นี้ ยังไม่เกิดขึ้นในบัดนี้ แต่จักเกิดขึ้นในกาลต่อไป
ภัยนั้น เธอทั้งหลายพึงรับรู้ไว้ และพึงพยายามเพื่อละภัยนั้นเสีย
5. ในอนาคต หมู่ภิกษุจักอยู่คลุกคลีกับพวกคนวัดและเหล่าสามเณร
เมื่ออยู่คลุกคลีกับพวกคนวัดและเหล่าสามเณร ก็พึงหวังข้อนี้ได้ว่า
‘เธอเหล่านั้นจักบริโภคของที่สะสมไว้หลายอย่าง จักทำนิมิตอย่าง
หยาบไว้ที่แผ่นดินบ้าง ที่ปลายของเขียวบ้าง1’
ภัยในอนาคตประการที่ 5 นี้ ยังไม่เกิดขึ้นในบัดนี้ แต่จักเกิดขึ้นในกาลต่อไป
ภัยนั้น เธอทั้งหลายพึงรับรู้ไว้ และพึงพยายามเพื่อละภัยนั้นเสีย
ภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคต 5 ประการนี้ ยังไม่เกิดขึ้นในปัจจุบัน แต่จัก
เกิดขึ้นในกาลต่อไป ภัยเหล่านั้น เธอทั้งหลายพึงรับรู้ไว้ และพึงพยายามเพื่อละภัย
เหล่านั้นเสีย
จตุตถอนาคตภยสูตรที่ 10 จบ
โยธาชีววรรคที่ 3 จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

1. ปฐมเจโตวิมุตติผลสูตร 2. ทุติยเจโตวิมุตติผลสูตร
3. ปฐมธัมมวิหารีสูตร 4. ทุติยธัมมวิหารีสูตร
5. ปฐมโยธาชีวสูตร 6. ทุติยโยธาชีวสูตร
7. อนาคตภยสูตร 8. ทุติยอนาคตภยสูตร
9. ตติยอนาคตภยสูตร 10. จตุตถอนาคตภยสูตร


เชิงอรรถ :
1 หมายถึงการสั่งให้ขุดดิน ให้ตัดต้นไม้ กิ่งไม้ และใบหญ้า ซึ่งจะเป็นเหตุให้ต้องอาบัติ (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/80/
40-41)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :148 }