เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 3. โยธาชีวรรค 10. จตุตถอนาคตภยสูตร
5. ในอนาคต หมู่ภิกษุจักไม่เจริญกาย ไม่เจริญศีล ไม่เจริญจิต ไม่
เจริญปัญญา เมื่อไม่เจริญกาย ไม่เจริญศีล ไม่เจริญจิต ไม่เจริญ
ปัญญา ภิกษุผู้เถระก็จักเป็นผู้มักมาก เป็นผู้ย่อหย่อน เป็นผู้นำ
ในโอกกมนธรรม1 ทอดธุระในปวิเวก2 จักไม่ปรารภความเพียรเพื่อ
ถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรม
ที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง หมู่คนรุ่นหลังก็จักพากันตามอย่างพวกภิกษุเถระ
เหล่านั้น แม้หมู่คนรุ่นหลังนั้น ก็จักเป็นผู้มักมาก เป็นผู้ย่อหย่อน
เป็นผู้นำในโอกกมนธรรม ทอดธุระในปวิเวก จักไม่ปรารภความเพียร
เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้ง
ธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง โดยนัยนี้แล เพราะธรรมเลอะเลือน วินัย
จึงเลอะเลือน เพราะวินัยเลอะเลือน ธรรมจึงเลอะเลือน
ภัยในอนาคตประการที่ 5 นี้ ซึ่งยังไม่เกิดขึ้นในบัดนี้ แต่จักเกิดขึ้นในกาลต่อไป
ภัยนั้น เธอทั้งหลายพึงรับรู้ไว้ และพึงพยายามเพื่อละภัยนั้นเสีย
ภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคต 5 ประการนี้แล ซึ่งยังไม่เกิดขึ้นในบัดนี้ แต่จัก
เกิดขึ้นในกาลต่อไป ภัยเหล่านั้น เธอทั้งหลายพึงรับรู้ไว้ และพึงพยายามเพื่อละภัย
เหล่านั้นเสีย
ตติยอนาคตภยสูตรที่ 9 จบ

10. จตุตถอนาคตภยสูตร
ว่าด้วยภัยในอนาคต สูตรที่ 4
[80] ภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคต 5 ประการนี้ ยังไม่เกิดขึ้นในบัดนี้
แต่จักเกิดขึ้นในกาลต่อไป ภัยเหล่านั้น เธอทั้งหลายพึงรับรู้ไว้ และพึงพยายามเพื่อ
ละภัยเหล่านั้นเสีย

เชิงอรรถ :
1 โอกกมนธรรม หมายถึงนิวรณ์ 5 ประการ (องฺ.ทุก.อ. 2/45/53)
2 ปวิเวก ในที่นี้หมายถึงพระนิพพาน (องฺ.ทุก.อ. 2/45/53)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :146 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 3. โยธาชีวรรค 10. จตุตถอนาคตภยสูตร
ภัยในอนาคต 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ในอนาคต หมู่ภิกษุจักเป็นผู้ชอบที่จีวรสวยงาม เมื่อชอบจีวรที่
สวยงาม ก็จักละความเป็นผู้ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร จักละเสนาสนะ
อันเงียบสงัด คือป่าโปร่ง และป่าทึบ ไปรวมกันอยู่ที่หมู่บ้าน นิคม
และเมืองหลวง และจักถึงการแสวงหาที่ไม่สมควร ไม่เหมาะสม
หลายอย่าง เพราะจีวรเป็นเหตุ
ภัยในอนาคตประการที่ 1 นี้ ยังไม่เกิดขึ้นในบัดนี้ แต่จักเกิดขึ้นในกาลต่อไป
ภัยนั้น เธอทั้งหลายพึงรับรู้ไว้ และพึงพยายามเพื่อละภัยนั้นเสีย
2. ในอนาคต หมู่ภิกษุจักเป็นผู้ชอบบิณฑบาตที่มีรสอร่อย เมื่อชอบ
บิณฑบาตที่มีรสอร่อย ก็จักละความเป็นผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร
จักละเสนาสนะอันเงียบสงัด คือป่าโปร่ง และป่าทึบ ไปรวมกันอยู่ที่
หมู่บ้าน นิคม และเมืองหลวง แสวงหาบิณฑบาตที่มีรสเลิศอร่อย
และจักถึงการแสวงหาที่ไม่สมควร ไม่เหมาะสมหลายอย่าง เพราะ
บิณฑบาตเป็นเหตุ
ภัยในอนาคตประการที่ 2 นี้ ยังไม่เกิดขึ้นในบัดนี้ แต่จักเกิดขึ้นในกาลต่อไป
ภัยนั้น เธอทั้งหลายพึงรับรู้ไว้ และพึงพยายามเพื่อละภัยนั้นเสีย
3. ในอนาคต หมู่ภิกษุจักเป็นผู้ชอบเสนาสนะที่สวยงาม เมื่อชอบ
เสนาสนะที่สวยงาม ก็จักละการอยู่ป่าเป็นวัตร จักละเสนาสนะอัน
เงียบสงัด คือป่าโปร่ง และป่าทึบ ไปรวมกันอยู่ที่หมู่บ้าน นิคม
และเมืองหลวง และจักถึงการแสวงหาที่ไม่สมควร ไม่เหมาะสม
หลายอย่าง เพราะเสนาสนะเป็นเหตุ
ภัยในอนาคตประการที่ 3 นี้ ยังไม่เกิดขึ้นในบัดนี้ แต่จักเกิดขึ้นในกาลต่อไป
ภัยนั้น เธอทั้งหลายพึงรับรู้ไว้ และพึงพยายามเพื่อละภัยนั้นเสีย
4. ในอนาคต หมู่ภิกษุจักอยู่คลุกคลีกับภิกษุณี นางสิกขมานา1 และ
เหล่าสามเณร เมื่ออยู่คลุกคลีกับภิกษุณี นางสิกขมานา และเหล่า

เชิงอรรถ :
1 นางสิกขมานา หมายถึงสามเณรีผู้มีอายุ 18 ปีแล้วอีก 2 ปีจะครบบวชเป็นภิกษุณี ภิกษุณีสงฆ์สวดให้
สิกขาสมมติ คือตกลงให้สมาทานสิกขาบท 6 ประการ ตั้งแต่ ปาณาติปาตา เวรมณี ถึง วิกาลโภชนา
เวรมณี ให้รักษาอย่างเคร่งครัดไม่ขาดเลยตลอดเวลา 2 ปีเต็ม (ถ้าล่วงละเมิดข้อใดข้อหนึ่ง ต้องสมาทาน
ตั้งต้นไปใหม่อีก 2 ปี) ในระหว่างที่สมาทานสิกขาบท 6 ประการนี้ เรียกว่า นางสิกขมานา (วิ.ภิกฺขุนี.
(แปล) 3/1078-1079/297-298)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :147 }