เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 3. โยธาชีวรรค 8. ทุติยอนาคตภยสูตร
5. ภิกษุในธรรมวินัยนี้อยู่ป่าพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘บัดนี้ เราอยู่ในป่า
ผู้เดียว ก็ในป่ามีพวกอมนุษย์1 ดุร้าย พวกอมนุษย์นั้นพึงปลิดชีวิต
เราก็ได้ เพราะเหตุนั้น เราพึงตาย เราพึงมีอันตรายนั้น เอาเถอะ
เราจะปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่
ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง’
ภิกษุผู้อยู่ป่า เมื่อพิจารณาเห็นภัยในอนาคตประการที่ 5 นี้ ควรเป็นผู้ไม่
ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรม
ที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ป่าเมื่อเห็นภัยในอนาคต 5 ประการนี้แล ควรเป็นผู้
ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรม
ที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง
ปฐมอนาคตภยสูตรที่ 7 จบ

8. ทุติยอนาคตภยสูตร
ว่าด้วยภัยในอนาคต สูตรที่ 2
[78] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อพิจารณาเห็นภัยในอนาคต 5 ประการนี้ ควร
เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อ
บรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง
ภัยในอนาคต 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘บัดนี้ เรายังเป็นคนหนุ่มแน่น
มีผมดำสนิท ประกอบด้วยความเป็นหนุ่มกำลังเจริญ ดำรงอยู่ใน
ปฐมวัยก็จริง ถึงกระนั้น ก็ยังมีสมัยที่ชราจะถูกต้องกายนี้ได้ การ
ที่บุคคลผู้แก่ถูกชราครอบงำแล้วจะมนสิการถึงคำสั่งสอนของ
พระพุทธเจ้า มิใช่ทำได้ง่าย ทั้งจะอาศัยเสนาสนะอันเงียบสงัด คือ

เชิงอรรถ :
1 อมนุษย์ หมายถึงยักษ์เป็นต้น (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/77/39)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :140 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 3. โยธาชีวรรค 8. ทุติยอนาคตภยสูตร
ป่าโปร่ง1 และป่าทึบ2 ก็มิใช่ทำได้ง่าย ก่อนที่ธรรมซึ่งไม่น่าปรารถนา
ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจนั้นจะมาถึงเรา เราจะรีบปรารภความเพียร
เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้
แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้งเสียก่อนทีเดียว ซึ่งเมื่อเรามีแล้ว แม้แก่
ก็จักอยู่สบาย’
ภิกษุเมื่อพิจารณาเห็นภัยในอนาคตประการที่ 1 นี้ ควรเป็นผู้ไม่ประมาท
มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ
เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง
2. ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘บัดนี้ เรามีอาพาธน้อย
มีโรคเบาบาง ประกอบด้วยไฟธาตุสำหรับย่อยอาหารสม่ำเสมอ
ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก ปานกลาง เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียรก็จริง
ถึงกระนั้น ก็ยังมีสมัยที่พยาธิจะถูกต้องกายนี้ได้ การที่บุคคลผู้
เจ็บไข้ถูกพยาธิครอบงำแล้วจะมนสิการถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
มิใช่ทำได้ง่าย ทั้งจะอาศัยเสนาสนะอันเงียบสงัด คือ ป่าโปร่ง และ
ป่าทึบ ก็มิใช่ทำได้ง่าย ก่อนที่ธรรมซึ่งไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่
ไม่น่าพอใจนั้นจะมาถึงเรา เราจะรีบปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรม
ที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยัง
ไม่ได้ทำให้แจ้งเสียก่อนทีเดียว ซึ่งเมื่อเรามีแล้ว แม้อาพาธก็จัก
อยู่สบาย’
ภิกษุเมื่อพิจารณาเห็นภัยในอนาคตประการที่ 2 นี้ ควรเป็นผู้ไม่ประมาท
มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่
บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง
3. ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘บัดนี้ มีภิกษาหาได้ง่าย
ข้าวกล้าดี บิณฑบาตได้ง่าย สะดวกแก่การแสวงหาเลี้ยงชีพก็จริง

เชิงอรรถ :
1 ป่าโปร่ง หมายถึงป่าอยู่นอกเสาเขตเมืองออกไปอย่างน้อยชั่ว 500 ลูกธนู (องฺ.ทุก.อ. 2/31/30)
2 ดูเชิงอรรถที่ 3 ข้อ 75 (ปฐมโยธาชีวสูตร) หน้า 129 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :141 }