เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 3. โยธาชีวรรค 7. ปฐมอนาคตภยสูตร
ผู้พิชิตสงคราม ยึดค่ายสงครามนั้นไว้ได้ บุคคลบางคนแม้เช่นนี้ก็มี
อยู่ในธรรมวินัยนี้ นี้คือบุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพจำพวกที่ 5
ซึ่งมีปรากฏอยู่ในภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพ 5 จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ใน
ภิกษุทั้งหลาย
ทุติยโยธาชีวสูตรที่ 6 จบ

7. ปฐมอนาคตภยสูตร
ว่าด้วยภัยในอนาคต สูตรที่ 1
[77] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ป่า เมื่อพิจารณาเห็นภัยในอนาคต 5
ประการนี้ ไม่ควรเป็นผู้ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ เพื่อถึงธรรม
ที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง
ภัยในอนาคต 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ภิกษุในธรรมวินัยนี้อยู่ป่าพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘บัดนี้ เราอยู่ในป่า
ผู้เดียว งูพึงกัดเราก็ได้ แมงป่องพึงต่อยเราก็ได้ หรือตะขาบพึงกัด
เราก็ได้ เพราะเหตุนั้น เราพึงตาย เราพึงมีอันตราย1นั้น เอาเถอะ
เราจะปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่
ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง’
ภิกษุผู้อยู่ป่า เมื่อพิจารณาเห็นภัยในอนาคตประการที่ 1 นี้ ควรเป็นผู้ไม่
ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรม
ที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง
2. ภิกษุในธรรมวินัยนี้อยู่ป่าพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘บัดนี้ เราอยู่ในป่า
ผู้เดียว เราเมื่ออยู่ในป่าผู้เดียว พึงพลาดหกล้มก็ได้ ภัตตาหารที่เรา

เชิงอรรถ :
1 อันตราย ในที่นี้หมายถึงอันตรายต่อชีวิตและอันตรายต่อการประพฤติพรหมจรรย์ แต่สำหรับผู้เป็นปุถุชน
เมื่อสิ้นชีวิตไปพึงมีอันตรายต่อสวรรค์ หรืออันตรายต่อมรรค (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/77/39)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :138 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 3. โยธาชีวรรค 7. ปฐมอนาคตภยสูตร
ฉันแล้วไม่พึงย่อยก็ได้ ดีของเราพึงกำเริบก็ได้ เสมหะของเรา
พึงกำเริบก็ได้ หรือลมมีพิษดังศัสตราของเราพึงกำเริบก็ได้ เพราะ
เหตุนั้น เราพึงตาย เราพึงมีอันตรายนั้น เอาเถอะ เราจะปรารภ
ความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ
เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง’
ภิกษุผู้อยู่ป่า เมื่อพิจารณาเห็นภัยในอนาคตประการที่ 2 นี้ ควรเป็นผู้ไม่
ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรม
ที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง
3. ภิกษุในธรรมวินัยนี้อยู่ป่าพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘บัดนี้ เราอยู่ในป่า
ผู้เดียว เมื่อเราอยู่ในป่าผู้เดียว พึงพบสัตว์ร้ายคือราชสีห์ เสือโคร่ง
เสือเหลือง หมี หรือเสือดาวก็ได้ สัตว์เหล่านั้นพึงทำร้ายเราถึง
ตายก็ได้ เพราะเหตุนั้น เราพึงตาย เราพึงมีอันตรายนั้น เอาเถอะ
เราจะปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยัง
ไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง’
ภิกษุผู้อยู่ป่า เมื่อพิจารณาเห็นภัยในอนาคตประการที่ 3 นี้ ควรเป็นผู้ไม่
ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรม
ที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง
4. ภิกษุในธรรมวินัยนี้อยู่ป่าพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘บัดนี้ เราอยู่ในป่า
ผู้เดียว เมื่อเราอยู่ในป่าผู้เดียว เราพึงพบคนร้ายผู้ก่อคดีแล้วหรือ
ยังไม่ได้ก่อคดีก็ได้ พวกคนร้ายนั้นพึงปลิดชีวิตเราเสียก็ได้ เพราะ
เหตุนั้น เราพึงตาย เราพึงมีอันตรายนั้น เอาเถอะ เราจะปรารภ
ความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ
เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง’
ภิกษุผู้อยู่ป่า เมื่อพิจารณาเห็นภัยในอนาคตประการที่ 4 นี้ ควรเป็นผู้ไม่
ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรม
ที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :139 }