เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 3. โยธาชีวรรค 6. ทุติยโยธาชีวสูตร
5. นักรบอาชีพบางคนในโลกนี้ถือดาบและโล่ ผูกสอดธนูและแล่งแล้ว
เข้าสู่สมรภูมิ เขาชนะสงครามนั้นแล้ว เป็นผู้พิชิตสงคราม ยึดค่าย
สงครามนั้นไว้ได้ นักรบอาชีพบางคนแม้เช่นนี้ก็มีอยู่ในโลกนี้ นี้เป็น
นักรบอาชีพจำพวกที่ 5 ซึ่งมีปรากฏอยู่ในโลก
ภิกษุทั้งหลาย นักรบอาชีพ 5 จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก ฉันใด
บุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพ 5 จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในภิกษุทั้งหลาย
ฉันนั้นเหมือนกัน
บุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพ 5 จำพวกไหนบ้าง คือ
1. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เข้าไปอาศัยหมู่บ้านหรือนิคมบางแห่งอยู่ เวลา
เช้า เธอครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร เข้าไปยังหมู่บ้านหรือ
นิคมนั้นเพื่อบิณฑบาต ไม่รักษากาย ไม่รักษาวาจา ไม่รักษาจิต
มีสติไม่ตั้งมั่น ไม่สำรวมอินทรีย์ เธอได้เห็นมาตุคามนุ่งห่มไม่
เรียบร้อยในหมู่บ้านหรือในนิคมนั้น เพราะเห็นมาตุคามนุ่งห่มไม่
เรียบร้อยนั้น ราคะ(ความกำหนัด) จึงรบกวนจิตของเธอ เธอถูก
ราคะรบกวนจิตแล้ว ไม่บอกคืนสิกขา ไม่เปิดเผยความท้อแท้ เสพ
เมถุนธรรม
เรากล่าวว่าภิกษุนี้เปรียบเหมือนนักรบอาชีพนั้นถือดาบและโล่ ผูกสอดธนูและ
แล่งแล้วเข้าสู่สมรภูมิ เขาขะมักเขม้นพยายามรบในสมรภูมินั้น พวกข้าศึกฆ่าเขาตาย
ทำลายเขาได้ บุคคลบางคนแม้เช่นนี้ก็มีปรากฏอยู่ในธรรมวินัยนี้ นี้คือบุคคลผู้
เปรียบด้วยนักรบอาชีพจำพวกที่ 1 ซึ่งมีปรากฏอยู่ในภิกษุทั้งหลาย
2. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เข้าไปอาศัยหมู่บ้านหรือนิคมบางแห่งอยู่ เวลาเช้า
เธอครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังหมู่บ้านหรือนิคมนั้น
เพื่อบิณฑบาต ไม่รักษากาย ไม่รักษาวาจา ไม่รักษาจิต มีสติไม่
ตั้งมั่น ไม่สำรวมอินทรีย์ เธอได้เห็นมาตุคามนุ่งห่มไม่เรียบร้อย ใน
หมู่บ้านหรือในนิคมนั้น เพราะเห็นมาตุคามนุ่งห่มไม่เรียบร้อยนั้น
ราคะจึงรบกวนจิตของเธอ เธอถูกราคะรบกวนจิตแล้วจึงมีกายเร่าร้อน
มีใจเร่าร้อน มีความคิดอย่างนี้ว่า “ทางที่ดี เราควรจะไปอาราม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :132 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 3. โยธาชีวรรค 6. ทุติยโยธาชีวสูตร
บอกพวกภิกษุว่า ‘ผู้มีอายุ ผมถูกราคะกลุ้มรุม ถูกราคะครอบงำแล้ว
ไม่สามารถสืบต่อพรหมจรรย์ได้ จักเปิดเผยความท้อแท้ในสิกขา
บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์” เธอกำลังเดินไปยังอาราม ยัง
ไม่ทันถึงอาราม ก็เปิดเผยความท้อแท้ในสิกขา บอกคืนสิกขากลับ
มาเป็นคฤหัสถ์ในระหว่างทาง
เรากล่าวว่าภิกษุนี้เปรียบเหมือนนักรบอาชีพนั้นถือดาบและโล่ ผูกสอดธนู
และแล่งแล้วเข้าสู่สมรภูมิ เขาขะมักเขม้นพยายามรบในสมรภูมินั้น พวกข้าศึก
ทำร้ายเขาให้บาดเจ็บ พวกของเขานำเขาออกมาส่งให้ถึงหมู่ญาติ เขากำลังถูกนำ
ไปอยู่ ยังไม่ทันถึงหมู่ญาติ ก็เสียชีวิตในระหว่างทาง บุคคลบางคนแม้เช่นนี้ก็มี
ปรากฏอยู่ในธรรมวินัยนี้ นี้คือบุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพจำพวกที่ 2 ซึ่งมี
ปรากฏอยู่ในภิกษุทั้งหลาย
3. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เข้าไปอาศัยหมู่บ้านหรือนิคมบางแห่งอยู่ เวลา
เช้า เธอครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังหมู่บ้านหรือ
นิคมนั้นเพื่อบิณฑบาต ไม่รักษากาย ไม่รักษาวาจา ไม่รักษาจิต
มีสติไม่ตั้งมั่น ไม่สำรวมอินทรีย์ เธอได้เห็นมาตุคามนุ่งห่มไม่
เรียบร้อยในหมู่บ้านหรือในนิคมนั้น เพราะเห็นมาตุคามนุ่งห่มไม่
เรียบร้อยนั้น ราคะจึงรบกวนจิตของเธอ เธอถูกราคะรบกวนจิตแล้ว
จึงมีกายเร่าร้อน มีใจเร่าร้อน มีความคิดอย่างนี้ว่า “ทางที่ดี
เราควรจะไปยังอารามบอกพวกภิกษุว่า ‘ผู้มีอายุ ผมถูกราคะ
กลุ้มรุม ถูกราคะครอบงำแล้ว ไม่สามารถสืบต่อพรหมจรรย์ได้
จักเปิดเผยความท้อแท้ในสิกขา บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์”
เธอจึงไปยังอารามแล้วบอกพวกภิกษุว่า “ผู้มีอายุ ผมถูกราคะ
กลุ้มรุม ถูกราคะครอบงำแล้ว ไม่สามารถสืบต่อพรหมจรรย์ได้
จักเปิดเผยความท้อแท้ในสิกขา บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์”
เพื่อนพรหมจารีทั้งหลายจึงกล่าวสอนพร่ำสอนเธอว่า “ผู้มีอายุ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :133 }