เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 3. โยธาชีวรรค 5. ปฐมโยธาชีวสูตร
ภิกษุทั้งหลาย นักรบอาชีพ 5 จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพ 5 จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ใน
ภิกษุทั้งหลายก็ฉันนั้นเหมือนกัน
บุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพ 5 จำพวกไหนบ้าง คือ
1. ภิกษุในธรรมวินัยนี้พอเห็นฝุ่นฟุ้งขึ้นเท่านั้น ก็หยุดนิ่ง1 หวั่นไหว
ไม่สามารถสืบต่อพรหมจรรย์ได้ เปิดเผยความท้อแท้ในสิกขา
บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์ อะไรชื่อว่าฝุ่นฟุ้งขึ้นสำหรับเธอ
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ได้ฟังว่า ในบ้านหรือนิคมโน้น มีหญิงหรือ
หญิงสาวรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส มีฉวีวรรณผุดผ่องยิ่งนัก เธอได้
ฟังดังนั้นแล้ว ก็หยุดนิ่ง หวั่นไหว ไม่สามารถสืบต่อพรหมจรรย์ได้
เปิดเผยความท้อแท้ในสิกขา บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์
นี้ชื่อว่าฝุ่นฟุ้งขึ้นสำหรับเธอ
เรากล่าวว่า ภิกษุนี้เปรียบเหมือนนักรบอาชีพที่พอเห็นฝุ่นฟุ้งขึ้นเท่านั้น ก็หยุดนิ่ง
หวั่นไหว ไม่สามารถเข้าสู่สมรภูมิได้ บุคคลบางคนแม้เช่นนี้ก็มีอยู่ในธรรมวินัยนี้ นี้คือ
บุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพจำพวกที่ 1 ซึ่งมีปรากฏอยู่ในภิกษุทั้งหลาย
2. ภิกษุในธรรมวินัยนี้แม้เห็นฝุ่นฟุ้งขึ้นก็อดทนได้ แต่พอเห็นยอดธง
ของข้าศึกเท่านั้น ก็หยุดนิ่ง หวั่นไหว ไม่สามารถสืบต่อพรหมจรรย์ได้
เปิดเผยความท้อแท้ในสิกขา บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์
อะไรชื่อว่ายอดธงของข้าศึกสำหรับเธอ คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ไม่ได้ฟังว่า ในบ้านหรือนิคมชื่อโน้น มีหญิงหรือหญิงสาวรูปงาม
น่าดู น่าเลื่อมใส มีฉวีวรรณผุดผ่องยิ่งนัก แต่เธอได้เห็นด้วยตนเอง
ครั้นเห็นแล้ว ก็หยุดนิ่ง หวั่นไหว ไม่สามารถสืบต่อพรหมจรรย์ได้
เปิดเผยความท้อแท้ในสิกขา บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์
นี้ชื่อว่ายอดธงข้าศึกสำหรับเธอ

เชิงอรรถ :
1 หยุดนิ่ง ในที่นี้หมายถึงจมดิ่งในมิจฉาวิตก(ความตรึกผิด) (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/75/37) และดู องฺ.ติก. (แปล)
20/125/372

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :127 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 3. โยธาชีวรรค 5. ปฐมโยธาชีวสูตร
เรากล่าวว่าภิกษุนี้เปรียบเหมือนนักรบอาชีพที่เห็นฝุ่นฟุ้งขึ้นก็อดทนได้ แต่พอ
เห็นยอดธงของข้าศึกเท่านั้น ก็หยุดนิ่ง หวั่นไหว ไม่สามารถเข้าสู่สมรภูมิได้ บุคคล
บางคนแม้เช่นนี้ก็มีอยู่ในธรรมวินัยนี้ นี้คือบุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพจำพวก
ที่ 2 ซึ่งมีปรากฏอยู่ในภิกษุทั้งหลาย
3. ภิกษุในธรรมวินัยนี้แม้เห็นฝุ่นฟุ้งขึ้นก็อดทนได้ แม้เห็นยอดธงของ
ข้าศึกก็อดทนได้ แต่พอได้ยินเสียงกึกก้องของข้าศึกเท่านั้น ก็หยุดนิ่ง
หวั่นไหว ไม่สามารถสืบต่อพรหมจรรย์ได้ เปิดเผยความท้อแท้ใน
สิกขา บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์ อะไรชื่อว่าเสียงกึกก้อง
ของข้าศึกสำหรับเธอ คือ มาตุคามเข้าไปหาภิกษุในธรรมวินัยนี้
ผู้ไปสู่ป่า ไปสู่โคนไม้ หรือไปสู่เรือนว่าง แล้วยิ้มแย้ม ปราศรัย
กระซิกกระซี้ ยั่วยวน เธอถูกมาตุคามยิ้มแย้ม ปราศรัย กระซิก-
กระซี้ ยั่วยวนอยู่ ก็หยุดนิ่ง หวั่นไหว ไม่สามารถสืบต่อพรหมจรรย์ได้
เปิดเผยความท้อแท้ในสิกขา บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์ นี้
ชื่อว่าเสียงกึกก้องของข้าศึกสำหรับเธอ
เรากล่าวว่าภิกษุนี้เปรียบเหมือนนักรบอาชีพที่แม้เห็นฝุ่นฟุ้งขึ้นก็อดทนได้ แม้เห็น
ยอดธงของข้าศึกก็อดทนได้ แต่พอได้ยินเสียงกึกก้องของข้าศึกเท่านั้น ก็หยุดนิ่ง
หวั่นไหว ไม่สามารถเข้าสู่สมรภูมิได้ บุคคลบางคนแม้เช่นนี้ก็มีอยู่ในธรมวินัยนี้
นี้คือบุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพจำพวกที่ 3 ซึ่งมีปรากฏอยู่ในภิกษุทั้งหลาย
4. ภิกษุในธรรมวินัยนี้แม้เห็นฝุ่นฟุ้งขึ้นก็อดทนได้ แม้เห็นยอดธงของ
ข้าศึกก็อดทนได้ แม้ได้ยินเสียงกึกก้องของข้าศึกก็อดทนได้ แต่
หวาดสะดุ้งต่อการประหารของข้าศึก อะไรชื่อว่าการประหารสำหรับ
ข้าศึกของเธอ คือ มาตุคามเข้าไปหาภิกษุในธรรมวินัยนี้ผู้ไปสู่ป่า
ไปสู่โคนไม้ หรือไปสู่เรือนว่าง แล้วนั่งทับ1 นอนทับ ข่มขืน เธอถูก
มาตุคามนั่งทับ นอนทับ ข่มขืนอยู่ ไม่บอกคืนสิกขา ไม่เปิดเผย

เชิงอรรถ :
1 นั่งทับ ในที่นี้หมายถึงใช้ทวารหนักและทวารเบานั่งทับองคชาตของภิกษุ อรรถกถาอธิบายว่า อิตฺถิยา
วจฺจมคฺเคน ตสฺส ภิกฺขุโน องฺคชาตํ อภินิสีเทนฺติ แปลว่า ให้องคชาตของภิกษุนั้นสอดเข้าไปทางทวารหนัก
ของหญิง (วิ.อ.1/58/280) และดู วิ.มหา. (แปล) 1/58-59/45-47

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :128 }