เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 3. โยธาชีวรรค 2. ทุติยเจโตวิมุตติผลสูตร
ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ไกลจากข้าศึก ปลดธงลงได้ ปลงภาระลงได้ ไม่ประกอบ
ด้วยวัฏฏะ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ละอัสมิมานะ1ได้หมดสิ้น ตัดรากถอนโคน
เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไป
ไม่ได้ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ไกลจากข้าศึก ปลดธงลงได้ ปลงภาระลงได้
ไม่ประกอบด้วยวัฏฏะ เป็นอย่างนี้แล
ปฐมเจโตวิมุตติผลสูตรที่ 1 จบ

2. ทุติยเจโตวิมุตติผลสูตร
ว่าด้วยธรรมมีเจโตวิมุตติเป็นผล สูตรที่ 2
[72] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม 5 ประการนี้ ที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว
ย่อมมีเจโตวิมุตติเป็นผล มีเจโตวิมุตติเป็นผลานิสงส์ ย่อมมีปัญญาวิมุตติเป็นผล
มีปัญญาวิมุตติเป็นผลานิสงส์
ธรรม 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. อนิจจสัญญา (กำหนดหมายความไม่เที่ยงแห่งสังขาร)
2. อนิจเจ ทุกขสัญญา (กำหนดหมายความเป็นทุกข์ในความไม่เที่ยง
แห่งสังขาร)
3. ทุกเข อนัตตสัญญา (กำหนดหมายความเป็นอนัตตาในความเป็นทุกข์)

เชิงอรรถ :
1 อัสมิมานะ หมายถึงความถือตัวว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ มี 9 ประการ คือ (1) เป็นผู้เลิศกว่าเขาถือตัวว่า
เลิศกว่าเขา (2) เป็นผู้เลิศกว่าเขาถือตัวว่าเสมอเขา (3) เป็นผู้เลิศว่าเขาถือตัวว่าด้อยกว่าเขา (4) เป็นผู้
เสมอเขาถือตัวว่าเลิศกว่าเขา (5) เป็นผู้เสมอเขาถือตัวว่าเสมอเขา (6) เป็นผู้เสมอเขาถือตัวว่าด้อยกว่าเขา
(7) เป็นผู้ด้อยกว่าเขาถือตัวว่าเลิศกว่าเขา (8) เป็นผู้ด้อยกว่าเขาถือตัวว่าเสมอเขา (9) เป็นผู้ด้อยกว่า
เขาถือตัวว่าด้อยกว่าเขา (ตามนัย องฺ.เอกก.อ. 1/574/473) และดู ขุ.ม. (แปล) 29/178/508, อภิ.วิ.
(แปล) 35/962/616-617
แต่ในที่นี้หมายถึงความสำคัญ ความพอใจ ความเข้าใจว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ
เป็น ‘เรา’ (องฺ.ปญฺจก.ฏีกา 3/71-72/34) และดู อภิ.วิ. (แปล) 35/883/559

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :121 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 3. โยธาชีวรรค 2. ทุติยเจโตวิมูตติผลสูตร
4. ปหานสัญญา(กำหนดหมายเพื่อละอกุศลวิตกและบาปธรรมทั้งหลาย)
5. วิราคสัญญา (กำหนดหมายวิราคะว่าเป็นธรรมละเอียดประณีต)
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม 5 ประการนี้แล ที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมมี
เจโตวิมุตติเป็นผล มีเจโตวิมุตติเป็นผลานิสงส์ ย่อมมีปัญญาวิมุตติเป็นผล มีปัญญา-
วิมุตติเป็นผลานิสงส์
เมื่อใด ภิกษุมีเจโตวิมุตติ และปัญญาวิมุตติ เมื่อนั้น ภิกษุนี้เราเรียกว่า ‘เป็นผู้
ถอนลิ่มสลักขึ้นได้’ บ้าง ว่า ‘เป็นผู้รื้อเครื่องแวดล้อมได้’ บ้าง ว่า ‘เป็นผู้ถอนเสาระ
เนียดขึ้นได้’ บ้าง ว่า ‘เป็นผู้ถอดกลอนออกได้’ บ้าง ว่า ‘เป็นผู้ไกลจากข้าศึก
ปลดธงลงได้ ปลงภาระลงได้ ไม่ประกอบด้วยวัฏฏะ’ บ้าง
ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถอนลิ่มสลักขึ้นได้ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ละอวิชชาได้หมดสิ้น ตัดรากถอนโคน เหมือน
ต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ภิกษุ
ชื่อว่าเป็นผู้ถอนลิ่มสลักขึ้นได้ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้รื้อเครื่องแวดล้อมได้ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ละชาติสงสารซึ่งเป็นเหตุให้เกิดในภพใหม่ได้หมดสิ้น
ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี
เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้รื้อเครื่องแวดล้อมได้ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถอนเสาระเนียดขึ้นได้ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ละตัณหาได้หมดสิ้น ตัดรากถอนโคน เหมือน
ต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ภิกษุ
ชื่อว่าเป็นผู้ถอนเสาระเนียดขึ้นได้ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถอดกลอนออกได้ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ 5 ประการได้หมดสิ้น
ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี
เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถอดกลอนออกได้ เป็นอย่างนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :122 }