เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 3. โยธาชีวรรค 2. ทุติยเจโตวิมุตติผลสูตร
ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ไกลจากข้าศึก ปลดธงลงได้ ปลงภาระลงได้ ไม่ประกอบ
ด้วยวัฏฏะ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ละอัสมิมานะ1ได้หมดสิ้น ตัดรากถอนโคน
เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไป
ไม่ได้ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ไกลจากข้าศึก ปลดธงลงได้ ปลงภาระลงได้
ไม่ประกอบด้วยวัฏฏะ เป็นอย่างนี้แล
ปฐมเจโตวิมุตติผลสูตรที่ 1 จบ

2. ทุติยเจโตวิมุตติผลสูตร
ว่าด้วยธรรมมีเจโตวิมุตติเป็นผล สูตรที่ 2
[72] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม 5 ประการนี้ ที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว
ย่อมมีเจโตวิมุตติเป็นผล มีเจโตวิมุตติเป็นผลานิสงส์ ย่อมมีปัญญาวิมุตติเป็นผล
มีปัญญาวิมุตติเป็นผลานิสงส์
ธรรม 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. อนิจจสัญญา (กำหนดหมายความไม่เที่ยงแห่งสังขาร)
2. อนิจเจ ทุกขสัญญา (กำหนดหมายความเป็นทุกข์ในความไม่เที่ยง
แห่งสังขาร)
3. ทุกเข อนัตตสัญญา (กำหนดหมายความเป็นอนัตตาในความเป็นทุกข์)

เชิงอรรถ :
1 อัสมิมานะ หมายถึงความถือตัวว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ มี 9 ประการ คือ (1) เป็นผู้เลิศกว่าเขาถือตัวว่า
เลิศกว่าเขา (2) เป็นผู้เลิศกว่าเขาถือตัวว่าเสมอเขา (3) เป็นผู้เลิศว่าเขาถือตัวว่าด้อยกว่าเขา (4) เป็นผู้
เสมอเขาถือตัวว่าเลิศกว่าเขา (5) เป็นผู้เสมอเขาถือตัวว่าเสมอเขา (6) เป็นผู้เสมอเขาถือตัวว่าด้อยกว่าเขา
(7) เป็นผู้ด้อยกว่าเขาถือตัวว่าเลิศกว่าเขา (8) เป็นผู้ด้อยกว่าเขาถือตัวว่าเสมอเขา (9) เป็นผู้ด้อยกว่า
เขาถือตัวว่าด้อยกว่าเขา (ตามนัย องฺ.เอกก.อ. 1/574/473) และดู ขุ.ม. (แปล) 29/178/508, อภิ.วิ.
(แปล) 35/962/616-617
แต่ในที่นี้หมายถึงความสำคัญ ความพอใจ ความเข้าใจว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ
เป็น ‘เรา’ (องฺ.ปญฺจก.ฏีกา 3/71-72/34) และดู อภิ.วิ. (แปล) 35/883/559

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :121 }