เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 2. สัญญาวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
10. อาสวักขยสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ทำให้สิ้นอาสวะ
[70] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม 5 ประการนี้ ที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะทั้งหลาย
ธรรม 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. พิจารณาเห็นความไม่งามในกายอยู่
2. กำหนดหมายความปฏิกูลในอาหาร
3. กำหนดความไม่น่าเพลิดเพลินในโลกทั้งปวง
4. พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง
5. เข้าไปตั้งมรณสัญญาไว้ในภายใน
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม 5 ประการนี้แล ที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไป
เพื่อความสิ้นอาสวะทั้งหลาย
อาสวักขยสูตรที่ 10 จบ
สัญญาวรรคที่ 2 จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

1. ปฐมสัญญาสูตร 2. ทุติยสัญญาสูตร
3. ปฐมวัฑฒิสูตร 4. ทุติยวัฑฒิสูตร
5. สากัจฉสูตร 6. สาชีวสูตร
7. ปฐมอิทธิปาทสูตร 8. ทุติยอิทธิปาทสูตร
9. นิพพิทาสูตร 10. อาสวักขยสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :118 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 3. โยธาชีวรรค 1. ปฐมเจโตวิมุตติผลสูตร
3. โยธาชีววรรค
หมวดว่าด้วยนักรบอาชีพ

1. ปฐมเจโตวิมุตติผลสูตร
ว่าด้วยธรรมมีเจโตวิมุตติเป็นผล สูตรที่ 1
[71] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ธรรม 5 ประการนี้ ที่บุคคล
เจริญทำให้มากแล้ว ย่อมมีเจโตวิมุตติเป็นผล มีเจโตวิมุตติเป็นผลานิสงส์ ย่อมมี
ปัญญาวิมุตติเป็นผล มีปัญญาวิมุตติเป็นผลานิสงส์
ธรรม 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. พิจารณาเห็นความไม่งามในกายอยู่
2. กำหนดหมายความปฏิกูลในอาหาร
3. กำหนดความไม่น่าเพลิดเพลินในโลกทั้งปวง
4. พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง
5. เข้าไปตั้งมรณสัญญาไว้ในภายใน
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม 5 ประการนี้แล ที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมมี
เจโตวิมุตติเป็นผล มีเจโตวิมุตติเป็นผลานิสงส์ ย่อมมีปัญญาวิมุตติเป็นผล
มีปัญญาวิมุตติเป็นผลานิสงส์
เมื่อใด ภิกษุมีเจโตวิมุตติ และปัญญาวิมุตติ เมื่อนั้น ภิกษุนี้เราเรียกว่า
‘เป็นผู้ถอนลิ่มสลักขึ้นได้’ บ้าง ว่า ‘เป็นผู้รื้อเครื่องแวดล้อมได้’ บ้าง ว่า ‘เป็นผู้ถอน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :119 }