เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 2. สัญญาวรรค 9. นิพพิทาสูตร
9. นิพพิทาสูตร1
ว่าด้วยความเบื่อหน่าย
[69] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม 5 ประการนี้ ที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง
เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน โดยส่วนเดียว
ธรรม 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. พิจารณาเห็นความไม่งามในกายอยู่
2. กำหนดหมายความปฏิกูลในอาหาร
3. กำหนดหมายความไม่น่าเพลิดเพลินในโลกทั้งปวง
4. พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง
5. เข้าไปตั้งมรณสัญญาไว้ในภายใน
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม 5 ประการนี้แล ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็น
ไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้
เพื่อนิพพาน โดยส่วนเดียว
นิพพิทาสูตรที่ 9 จบ

เชิงอรรถ :
1 นิพพิทาสูตร และอาสวักขยสูตร นี้ พระผู้มีพระภาคตรัสมุ่งถึงวิปัสสนากัมมัฏฐาน (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/67-
70/33)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :117 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 2. สัญญาวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
10. อาสวักขยสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ทำให้สิ้นอาสวะ
[70] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม 5 ประการนี้ ที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะทั้งหลาย
ธรรม 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. พิจารณาเห็นความไม่งามในกายอยู่
2. กำหนดหมายความปฏิกูลในอาหาร
3. กำหนดความไม่น่าเพลิดเพลินในโลกทั้งปวง
4. พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง
5. เข้าไปตั้งมรณสัญญาไว้ในภายใน
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม 5 ประการนี้แล ที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไป
เพื่อความสิ้นอาสวะทั้งหลาย
อาสวักขยสูตรที่ 10 จบ
สัญญาวรรคที่ 2 จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

1. ปฐมสัญญาสูตร 2. ทุติยสัญญาสูตร
3. ปฐมวัฑฒิสูตร 4. ทุติยวัฑฒิสูตร
5. สากัจฉสูตร 6. สาชีวสูตร
7. ปฐมอิทธิปาทสูตร 8. ทุติยอิทธิปาทสูตร
9. นิพพิทาสูตร 10. อาสวักขยสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :118 }