เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 1. นีวรณวรรค 8. ลิจฉวิกุมารกสูตร
มารดาบิดาผู้ได้รับสักการะ เคารพ นับถือ บูชาแล้ว ย่อมอนุเคราะห์
กุลบุตรนั้นด้วยน้ำใจอันงามว่า ‘ขอเจ้าจงมีชีวิตยืนนาน มีอายุยืนนาน’
กุลบุตรผู้อันมารดาบิดาอนุเคราะห์แล้ว พึงหวังได้ความเจริญอย่าง
เดียว ไม่มีความเสื่อมเลย
2. กุลบุตรในโลกนี้สักการะ เคารพ นับถือ บูชาบุตร ภรรยา ทาส
กรรมกร และคนใช้ด้วยโภคทรัพย์ที่หามาได้ด้วยความขยัน
หมั่นเพียร เก็บรวบรวมด้วยน้ำพักน้ำแรง อาบเหงื่อต่างน้ำ
ประกอบด้วยธรรม ได้มาโดยธรรม บุตร ภรรยา ทาส กรรมกร
และคนใช้ผู้ได้รับสักการะ เคารพ นับถือ บูชาแล้ว ย่อม
อนุเคราะห์กุลบุตรนั้นด้วยน้ำใจอันงามว่า ‘ขอท่านจงมีชีวิตยืนนาน
มีอายุยืนนาน’ กุลบุตรผู้อันบุตร ภรรยา ทาส กรรมกร และคน
ใช้อนุเคราะห์แล้ว พึงหวังได้ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความ
เสื่อมเลย
3. กุลบุตรในโลกนี้สักการะ เคารพ นับถือ บูชาเพื่อนชาวนา และ
เพื่อนร่วมงานด้วยโภคทรัพย์ที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร
เก็บรวบรวมด้วยน้ำพักน้ำแรง อาบเหงื่อต่างน้ำ ประกอบด้วยธรรม
ได้มาโดยธรรม เพื่อนชาวนา และเพื่อนร่วมงานผู้ได้รับสักการะ
เคารพ นับถือ บูชาแล้ว ย่อมอนุเคราะห์กุลบุตรนั้นด้วยน้ำใจอันงาม
ว่า ‘ขอเพื่อนจงมีชีวิตยืนนาน มีอายุยืนนาน’ กุลบุตรผู้อันเพื่อน
ชาวนา และเพื่อนร่วมงานอนุเคราะห์แล้ว พึงหวังได้ความเจริญ
อย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย
4. กุลบุตรในโลกนี้สักการะ เคารพ นับถือ บูชาเทวดาผู้รับพลีกรรม
ด้วยโภคทรัพย์ที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร เก็บรวบรวม
ด้วยน้ำพักน้ำแรง อาบเหงื่อต่างน้ำ ประกอบด้วยธรรม ได้มาโดย
ธรรม เทวดาผู้รับพลีกรรม ได้รับสักการะ เคารพ นับถือ บูชาแล้ว
ย่อมอนุเคราะห์กุลบุตรนั้นด้วยน้ำใจอันงามว่า ‘ขอท่านจงมีชีวิต
ยืนนาน มีอายุยืนนาน’ กุลบุตรผู้อันเทวดาอนุเคราะห์แล้ว พึงหวัง
ได้ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :106 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 1. นีวรณวรรค 8. ลิจฉวิกุมารกสูตร
5. กุลบุตรในโลกนี้สักการะ เคารพ นับถือ บูชาสมณพราหมณ์ด้วย
โภคทรัพย์ที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร เก็บรวบรวมด้วย
น้ำพักน้ำแรง อาบเหงื่อต่างน้ำ ประกอบด้วยธรรม ได้มาโดยธรรม
สมณพราหมณ์ผู้ได้รับสักการะ เคารพ นับถือ บูชาแล้ว ย่อม
อนุเคราะห์กุลบุตรนั้นด้วยน้ำใจอันงามว่า ‘ขอท่านจงมีชีวิตยืนนาน
มีอายุยืนนาน ‘กุลบุตรผู้อันสมณพราหมณ์อนุเคราะห์แล้ว พึงหวัง
ได้ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย
มหานามะ กุลบุตรคนใด เป็นกษัตราธิราชผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้วก็ตาม เป็นผู้
ปกครองรัฐซึ่งรับมรดกจากบิดาก็ตาม เป็นอัครเสนาบดีก็ตาม เป็นผู้ใหญ่บ้านก็ตาม
เป็นหัวหน้าคณะก็ตาม เป็นใหญ่เฉพาะตระกูลก็ตาม มีธรรม 5 ประการนี้ พึงหวัง
ได้ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย
กุลบุตรผู้มีศีล รู้ความประสงค์ของผู้ขอ1
ช่วยทำกิจของมารดาบิดา เกื้อกูลบุตร ภรรยา
ปฏิบัติเพื่อประโยชน์แก่คนทั้ง 2 ฝ่าย
คือ ชนภายในและชนผู้อาศัยบุคคลนั้นอยู่
กุลบุตรผู้เป็นบัณฑิตเมื่ออยู่ครองเรือนโดยธรรม
ทำความยินดีให้เกิดขึ้นแก่ญาติทั้งที่ล่วงลับไปแล้ว
และที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน
ยังความยินดีให้เกิดขึ้นแก่สมณพราหมณ์และเทวดา
กุลบุตรนั้น ครั้นบำเพ็ญกัลยาณธรรมแล้ว
เป็นผู้ควรบูชา เป็นผู้ควรสรรเสริญ
บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญเขาในโลกนี้
เขาตายไปแล้ว ย่อมบันเทิงในสวรรค์”
ลิจฉวิกุมารกสูตรที่ 8 จบ

เชิงอรรถ :
1 ดูเชิงอรรถที่ 2 ข้อ 36 (กาลทานสูตร) หน้า 57 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :107 }