เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 1. นีวรณวรรค 7. ฐานสูตร
3. อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘ไม่ใช่เราคนเดียวเท่านั้นที่มีความ
ตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ แท้จริง สัตว์ทั้งปวง
ที่มีการมา การไป การจุติ การอุบัติ ก็ล้วนมีความตายเป็นธรรมดา
ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้’ เมื่ออริยสาวกนั้นพิจารณาฐานะนั้นอยู่
เนือง ๆ มรรคย่อมเกิดขึ้น อริยสาวกนั้นย่อมเสพ เจริญ ทำให้
มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเสพ เจริญ ทำให้มากอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้
อนุสัยย่อมสิ้นไป
4. อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘ไม่ใช่เราคนเดียวเท่านั้น ที่จะ
ต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น แท้จริง สัตว์ทั้งปวงที่มี
การมา การไป การจุติ การอุบัติ ก็ล้วนจะต้องพลัดพรากจากของ
รักของชอบใจทั้งสิ้น’ เมื่ออริยสาวกนั้นพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนือง ๆ
มรรคย่อมเกิดขึ้น อริยสาวกนั้นย่อมเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่ง
มรรคนั้น เมื่อเสพ เจริญ ทำให้มากอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัย
ย่อมสิ้นไป
5. อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘ไม่ใช่เราคนเดียวเท่านั้นที่มีกรรม
เป็นของตน เป็นผู้รับผลของกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็น
เผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย เราทำกรรมใดไว้ จะเป็นกรรมดีหรือ
กรรมชั่วก็ตาม ย่อมเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น แท้จริง สัตว์ทั้งปวงที่
มีการมา การไป การจุติ การอุบัติ ล้วนมีกรรมเป็นของตน เป็นผู้
รับผลของกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรม
เป็นที่พึ่งอาศัย ทำกรรมใดไว้ จะเป็นกรรมดีหรือกรรมชั่วก็ตาม
ย่อมเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น’ เมื่ออริยสาวกนั้นพิจารณาฐานะนั้นอยู่
เนือง ๆ มรรคย่อมเกิดขึ้น อริยสาวกนั้น ย่อมเสพ เจริญ ทำให้
มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเสพ เจริญ ทำให้มากอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้
อนุสัยย่อมสิ้นไป
สัตว์ทั้งหลาย มีความแก่ มีความเจ็บ
และมีความตายเป็นธรรมดา
ย่อมเป็นไปตามธรรม
พวกปุถุชนย่อมเกลียด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :103 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 1. นีวรณวรรค 8. ลิจฉวิกุมารกสูตร
ถ้าเราพึงเกลียดธรรมนั้น
ในสัตว์ทั้งหลายผู้มีธรรมอย่างนั้น
ข้อนั้นไม่สมควรแก่เรา ผู้เป็นอยู่อย่างนี้
เรานั้นดำรงอยู่อย่างนี้ รู้ธรรมที่ไม่มีอุปธิกิเลส1
เห็นเนกขัมมะ2ว่า เป็นธรรมเกษม
ครอบงำความมัวเมาทั้งปวงในความไม่มีโรค
ในความเป็นหนุ่ม สาว และในชีวิต
ความอุตสาหะได้มีแล้วแก่เราผู้เห็นแจ้งนิพพาน
บัดนี้ เราไม่ควรเสพกาม
จักประพฤติไม่ถอยหลัง3
มุ่งประพฤติพรหมจรรย์4
ฐานสูตรที่ 7 จบ

8. ลิจฉวิกุมารกสูตร
ว่าด้วยเจ้าลิจฉวีกุมาร
[58] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน
เขตกรุงเวสาลี ครั้งนั้นแล เวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตร
และจีวร เสด็จเข้าไปยังกรุงเวสาลีเพื่อบิณฑบาต เสด็จกลับจากบิณฑบาตหลังจาก
เสวยพระกระยาหารเสร็จแล้ว จึงเสด็จเข้าไปยังป่ามหาวัน ประทับนั่งพักผ่อน
กลางวัน ณ โคนไม้ต้นหนึ่ง

เชิงอรรถ :
1 ธรรมที่ไม่มีอุปธิกิเลส ในที่นี้หมายถึงอรหัตตผล (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/57/31)
2 เนกขัมมะ ในที่นี้หมายถึงบรรพชา (การบวช) (องฺ.ปญฺจก.อ.3/57/31)
3 ประพฤติไม่ถอยหลัง ในที่นี้หมายถึงไม่ถอยหลังจากบรรพชา จากการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ และจาก
พระสัพพัญญุตญาณ (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/57/31)
4 พรหมจรรย์ ในที่นี้หมายถึงมรรคพรหมจรรย์ คือ อริยมรรคมีองค์ 8 อันเป็นโลกุตตระ (องฺ.ปญฺจก.อ.
3/57/31)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :104 }