เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 1. นีวรณวรรค 7. ฐานสูตร
ล่วงพ้นความแก่ไปได้’ เมื่ออริยสาวกนั้นพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนือง ๆ
มรรค1ย่อมเกิดขึ้น อริยสาวกนั้นย่อมเสพ2 เจริญ ทำให้มากซึ่ง
มรรคนั้น เมื่อเสพ เจริญ ทำให้มากอยู่ ย่อมละสังโยชน์3ได้
อนุสัย4ย่อมสิ้นไป
2. อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘ไม่ใช่เราคนเดียวเท่านั้นที่มี
ความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้ แท้จริง สัตว์
ทั้งปวงที่มีการมา การไป การจุติ การอุบัติ ก็ล้วนมีความเจ็บไข้
เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้’ เมื่ออริยสาวกนั้นพิจารณา
ฐานะนั้นอยู่เนือง ๆ มรรคย่อมเกิดขึ้น อริยสาวกนั้นย่อมเสพ เจริญ
ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเสพ เจริญ ทำให้มากอยู่ ย่อมละ
สังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป

เชิงอรรถ :
1 มรรค ในที่นี้หมายถึงโลกุตตรมรรค ได้แก่ อริยมรรค 4 คือ โสตาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค
และอรหัตตมรรค (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/57/31)
2 เสพในที่นี้หมายถึงการนึกหน่วง การรู้ การเห็น การพิจารณา การอธิษฐานจิต การน้อมใจเชื่อ ประคอง
ความเพียร ตั้งสติไว้ ตั้งจิตไว้ กำหนดรู้ด้วยปัญญา รู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ละ
ธรรมที่ควรละ เจริญธรรมที่ควรเจริญ ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง (องฺ.เอกก.อ.1/53/63)
เจริญ หมายถึงบำเพ็ญสิ่งที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ให้เจริญขึ้น และตามรักษาสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วให้มีอยู่ตลอดไป
(องฺ.เอกก.อ. 1/54-55/63, 418/448, 453/469)
ทำให้มาก หมายถึงทำบ่อย ๆ (องฺ.เอกก.อ. 1/600-611/480)
3 สังโยชน์ หมายถึงกิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์ หรือธรรมที่มัดใจสัตว์ไว้กับทุกข์ มี 10 ประการ คือ สักกายทิฏฐิ,
วิจิกิจฉา, สีลัพพตปรามาส, กามฉันทะหรือกามราคะ, พยาบาทหรือปฏิฆะ, รูปราคะ, อรูปราคะ, มานะ,
อุทธัจจะ, อวิชชา (สํ.ม.19/180-181/56-57, องฺ.ทสก. (แปล) 24/13/21, อภิ.วิ. (แปล) 35/940/
592)
4 อนุสัย หมายถึงกิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดานมี 7 ประการ คือ (1) กามราคะ (ความกำหนัดในกาม)
(2) ปฏิฆะ (ความขัดใจ) (3) ทิฏฐิ (ความเห็นผิด) (4) วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย) (5) มานะ (ความถือตัว)
(6) ภวราคะ (ความกำหนัดในภพ) (7) อวิชชา (ความไม่รู้แจ้ง) (สํ.สฬา.อ. 3/53-62/14, องฺ.ปญฺจก.อ.
3/57/31)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :102 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 1. นีวรณวรรค 7. ฐานสูตร
3. อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘ไม่ใช่เราคนเดียวเท่านั้นที่มีความ
ตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ แท้จริง สัตว์ทั้งปวง
ที่มีการมา การไป การจุติ การอุบัติ ก็ล้วนมีความตายเป็นธรรมดา
ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้’ เมื่ออริยสาวกนั้นพิจารณาฐานะนั้นอยู่
เนือง ๆ มรรคย่อมเกิดขึ้น อริยสาวกนั้นย่อมเสพ เจริญ ทำให้
มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเสพ เจริญ ทำให้มากอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้
อนุสัยย่อมสิ้นไป
4. อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘ไม่ใช่เราคนเดียวเท่านั้น ที่จะ
ต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น แท้จริง สัตว์ทั้งปวงที่มี
การมา การไป การจุติ การอุบัติ ก็ล้วนจะต้องพลัดพรากจากของ
รักของชอบใจทั้งสิ้น’ เมื่ออริยสาวกนั้นพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนือง ๆ
มรรคย่อมเกิดขึ้น อริยสาวกนั้นย่อมเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่ง
มรรคนั้น เมื่อเสพ เจริญ ทำให้มากอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัย
ย่อมสิ้นไป
5. อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘ไม่ใช่เราคนเดียวเท่านั้นที่มีกรรม
เป็นของตน เป็นผู้รับผลของกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็น
เผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย เราทำกรรมใดไว้ จะเป็นกรรมดีหรือ
กรรมชั่วก็ตาม ย่อมเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น แท้จริง สัตว์ทั้งปวงที่
มีการมา การไป การจุติ การอุบัติ ล้วนมีกรรมเป็นของตน เป็นผู้
รับผลของกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรม
เป็นที่พึ่งอาศัย ทำกรรมใดไว้ จะเป็นกรรมดีหรือกรรมชั่วก็ตาม
ย่อมเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น’ เมื่ออริยสาวกนั้นพิจารณาฐานะนั้นอยู่
เนือง ๆ มรรคย่อมเกิดขึ้น อริยสาวกนั้น ย่อมเสพ เจริญ ทำให้
มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเสพ เจริญ ทำให้มากอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้
อนุสัยย่อมสิ้นไป
สัตว์ทั้งหลาย มีความแก่ มีความเจ็บ
และมีความตายเป็นธรรมดา
ย่อมเป็นไปตามธรรม
พวกปุถุชนย่อมเกลียด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :103 }