เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์]
5.โรหิตัสสวรรค 8. วิสาขสูตร

8. วิสาขสูตร
ว่าด้วยการแสดงธรรมของวิสาขปัญจาลิบุตร

[48] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล ท่านวิสาขปัญจาลิบุตรชี้แจง
ให้ภิกษุทั้งหลายในหอฉันเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญ
แกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา ด้วยวาจาชาวเมืองที่
สละสลวย ไม่หยาบคาย ให้รู้ความหมายได้ เกี่ยวเนื่องกับนิพพาน ไม่อิงอาศัย
วัฏฏะ ครั้นในเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้นเข้าไปยังหอฉัน
ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้แล้ว ได้ตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ใครหนอชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลายในหอฉันเห็นชัด ชวนใจให้
อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วย
ธรรมีกถา ด้วยวาจาชาวเมืองที่สละสลวย ไม่หยาบคาย ให้รู้ความหมายได้
เกี่ยวเนื่องกับนิพพาน ไม่อิงอาศัยวัฏฏะ”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้จริญ ท่านวิสาขปัญจาลิบุตร
ชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลายในหอฉันเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้
อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา ด้วยวาจาชาว
เมืองที่สละสลวย ไม่หยาบคาย ให้รู้ความหมายได้ เกี่ยวเนื่องกับนิพพาน ไม่
อิงอาศัยวัฏฏะ”
สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับท่านวิสาขปัญจาลิบุตรดังนี้ว่า “ดีจริง
ดีจริง วิสาขะ ดีเหลือเกินที่เธอชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลายเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอา
ไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา
ด้วยวาจาชาวเมืองที่สละสลวย ไม่หยาบคาย ให้รู้ความหมายได้ เกี่ยวเนื่องกับ
นิพพาน ไม่อิงอาศัยวัฏฏะ”
บุคคลผู้ไม่พูด
ชนทั้งหลายย่อมไม่รู้ว่าเป็นคนพาลหรือบัณฑิต
ส่วนบุคคลผู้ที่พูด
ชนทั้งหลายย่อมรู้ว่าเป็นผู้แสดงอมตธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 21 หน้า :78 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์]
5.โรหิตัสสวรรค 9.วิปัลลาสสูตร

บุคคลพึงประกาศ เชิดชู
ยกย่องธรรม1ซึ่งเป็นธงชัยของฤๅษี
ฤๅษีทั้งหลายมีสุภาษิตเป็นธงชัย
ธรรมเป็นธงชัยของฤๅษี

วิสาขสูตรที่ 8 จบ

9. วิปัลลาสสูตร
ว่าด้วยวิปลาส

[49] ภิกษุทั้งหลาย สัญญาวิปลาส2 จิตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาส 4 ประการนี้
สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาส 4 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาสในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง
2. สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาสในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข
3. สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาสในสิ่งที่เป็นอนัตตาว่าเป็น
อัตตา
4. สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาสในสิ่งที่ไม่งามว่างาม
ภิกษุทั้งหลาย สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาส 4 ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย สัญญาไม่วิปลาส จิตไม่วิปลาส ทิฏฐิไม่วิปลาส 4 ประการนี้
สัญญาไม่วิปลาส จิตไม่วิปลาส ทิฏฐิไม่วิปลาส 4 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. สัญญาไม่วิปลาส จิตไม่วิปลาส ทิฏฐิไม่วิปลาสในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่า
ไม่เที่ยง
2. สัญญาไม่วิปลาส จิตไม่วิปลาส ทิฏฐิไม่วิปลาสในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่า
เป็นทุกข์