เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์]
5.โรหิตัสสวรรค 3.ปฐมโกธครุสูตร

อนึ่ง บัณฑิตเรียกภิกษุผู้รู้ความเหมาะสม1
ในฐานะแห่งปัญหานั้น ๆ ว่า
เป็นผู้ฉลาดในปัญหาทั้ง 4
บุคคลเช่นนั้น ใคร ๆ เทียบได้ยาก
เอาชนะได้ยาก เป็นคนลึกซึ้ง ให้แพ้ได้ยาก
และฉลาดในประโยชน์ทั้งสอง
คือ ด้านเจริญและด้านเสื่อม
บัณฑิตย่อมเว้นด้านเสื่อม ถือเอาด้านเจริญ
ธีรชนเพราะรู้จักประโยชน์
ชาวโลกจึงเรียกว่า “บัณฑิต”

ปัญหพยากรณสูตรที่ 2 จบ

3. ปฐมโกธครุสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้มักโกรธ สูตรที่ 1

[43] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล 4 จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล 4 จำพวกไหนบ้าง คือ
1. บุคคลผู้มักโกรธ ไม่เคารพสัทธรรม
2. บุคคลผู้มักลบหลู่ ไม่เคารพสัทธรรม
3. บุคคลผู้เห็นแก่ลาภ ไม่เคารพสัทธรรม
4. บุคคลผู้เห็นแก่สักการะ ไม่เคารพสัทธรรม
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล 4 จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล 4 จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล 4 จำพวกไหนบ้าง คือ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์]
5.โรหิตัสสวรรค 4. ทุติยโกธครุสูตร

1. บุคคลผู้เคารพสัทธรรม ไม่มักโกรธ
2. บุคคลผู้เคารพสัทธรรม ไม่มักลบหลู่
3. บุคคลผู้เคารพสัทธรรม ไม่เห็นแก่ลาภ
4. บุคคลผู้เคารพสัทธรรม ไม่เห็นแก่สักการะ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล 4 จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
ภิกษุผู้มักโกรธ มักลบหลู่
เห็นแก่ลาภและเห็นแก่สักการะ
ย่อมไม่งอกงามในธรรม
ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว
ส่วนภิกษุผู้เคารพสัทธรรม
ทั้งในอดีตและปัจจุบัน ย่อมงอกงามในธรรม
ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว

ปฐมโกธครุสูตรที่ 3 จบ

4. ทุติยโกธครุสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้มักโกรธ สูตรที่ 2

[44] ภิกษุทั้งหลาย อสัทธรรม 4 ประการนี้
อสัทธรรม 4 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ความเป็นผู้มักโกรธ ไม่เคารพสัทธรรม
2. ความเป็นผู้มักลบหลู่ ไม่เคารพสัทธรรม
3. ความเป็นผู้เห็นแก่ลาภ ไม่เคารพสัทธรรม
4. ความเป็นผู้เห็นแก่สักการะ ไม่เคารพสัทธรรม
ภิกษุทั้งหลาย อสัทธรรม 4 ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย สัทธรรม 4 ประการนี้
สัทธรรม 4 ประการ อะไรบ้าง คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 21 หน้า :72 }