เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์]
5.โรหิตัสสวรรค 2. ปัฐหพยากรณสูตร

บุคคลใดรู้สิ่งสูงต่ำ1ในโลก2
ไม่มีกิเลสเป็นเหตุให้หวั่นไหว3ในโลกไหน ๆ4
เรากล่าวว่า บุคคลเป็นผู้สงบ5
ไม่มีควันคือความโกรธ
ไม่มีกิเลสกระทบจิต ไม่มีความหวัง
ข้ามพ้นชาติและชราได้แล้ว

สมาธิภาวนาสูตรที่ 1 จบ

2. ปัญหพยากรณสูตร
ว่าด้วยวิธีการตอบปัญหา

[42] ภิกษุทั้งหลาย การตอบปัญหา 4 ประการนี้
การตอบปัญหา 4 ประการ6 อะไรบ้าง คือ
1. เอกังสพยากรณียปัญหา (ปัญหาที่ควรตอบโดยนัยเดียว)
2. วิภัชชพยากรณียปัญหา (ปัญหาที่ควรแยกตอบ)
3. ปฏิปุจฉาพยากรณียปัญหา (ปัญหาที่ควรตอบโดยย้อนถาม)
4. ฐปนียปัญหา (ปัญหาที่ควรงดตอบ)
ภิกษุทั้งหลาย การตอบปัญหา 4 ประการนี้แล
(1) ตอบโดยนัยเดียว (2) แยกตอบ
(3) ตอบโดยย้อนถาม (4) งดตอบ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์]
5.โรหิตัสสวรรค 3.ปฐมโกธครุสูตร

อนึ่ง บัณฑิตเรียกภิกษุผู้รู้ความเหมาะสม1
ในฐานะแห่งปัญหานั้น ๆ ว่า
เป็นผู้ฉลาดในปัญหาทั้ง 4
บุคคลเช่นนั้น ใคร ๆ เทียบได้ยาก
เอาชนะได้ยาก เป็นคนลึกซึ้ง ให้แพ้ได้ยาก
และฉลาดในประโยชน์ทั้งสอง
คือ ด้านเจริญและด้านเสื่อม
บัณฑิตย่อมเว้นด้านเสื่อม ถือเอาด้านเจริญ
ธีรชนเพราะรู้จักประโยชน์
ชาวโลกจึงเรียกว่า “บัณฑิต”

ปัญหพยากรณสูตรที่ 2 จบ

3. ปฐมโกธครุสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้มักโกรธ สูตรที่ 1

[43] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล 4 จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล 4 จำพวกไหนบ้าง คือ
1. บุคคลผู้มักโกรธ ไม่เคารพสัทธรรม
2. บุคคลผู้มักลบหลู่ ไม่เคารพสัทธรรม
3. บุคคลผู้เห็นแก่ลาภ ไม่เคารพสัทธรรม
4. บุคคลผู้เห็นแก่สักการะ ไม่เคารพสัทธรรม
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล 4 จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล 4 จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล 4 จำพวกไหนบ้าง คือ