เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์]
5.โรหิตัสสวรรค 1.สมาธิภาวนาสูตร

สมาธิภาวนาที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อได้ญาณทัสสนะ1
เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้มนสิการถึงอาโลกสัญญา (ความกำหนดหมายในแสง
สว่าง) อธิษฐานทิวาสัญญา (ความกำหนดหมายว่ากลางวัน) ว่า กลางคืนเหมือน
กลางวัน กลางวันเหมือนกลางคืน มีใจสงัดไม่มีเครื่องร้อยรัด อบรมจิตให้สว่าง2อยู่
สมาธิภาวนานี้ที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อได้ญาณทัสสนะ
สมาธิภาวนาที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ
เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้แจ้งเวทนาที่เกิดขึ้น รู้แจ้งเวทนาที่ตั้งอยู่ รู้แจ้งเวทนา
ที่ดับไป รู้แจ้งสัญญาที่เกิดขึ้น ... รู้แจ้งวิตกที่เกิดขึ้น รู้แจ้งวิตกที่ตั้งอยู่ รู้แจ้งวิตกที่
ดับไป สมาธิภาวนานี้ที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ
สมาธิภาวนาที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ
เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีปกติเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปในอุปาทาน
ขันธ์ 5 อยู่ว่า “รูปเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นอย่างนี้ ความดับแห่งรูปเป็น
อย่างนี้ เวทนาเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาเป็นอย่างนี้ ความดับแห่งเวทนา
เป็นอย่างนี้ สัญญาเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสัญญาเป็นอย่างนี้ ความดับแห่ง
สัญญาเป็นอย่างนี้ สังขารเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสังขารเป็นอย่างนี้ ความดับ
แห่งสังขารเป็นอย่างนี้ วิญญาณเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณเป็นอย่างนี้
ความดับแห่งวิญญาณเป็นอย่างนี้” สมาธิภาวนานี้ที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้วย่อม
เป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ
ภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนา 4 ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ก็คำนี้เรากล่าวไว้ในปุณณกปัญหาในปารายนวรรค หมายถึง
ข้อความนี้ว่า


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์]
5.โรหิตัสสวรรค 2. ปัฐหพยากรณสูตร

บุคคลใดรู้สิ่งสูงต่ำ1ในโลก2
ไม่มีกิเลสเป็นเหตุให้หวั่นไหว3ในโลกไหน ๆ4
เรากล่าวว่า บุคคลเป็นผู้สงบ5
ไม่มีควันคือความโกรธ
ไม่มีกิเลสกระทบจิต ไม่มีความหวัง
ข้ามพ้นชาติและชราได้แล้ว

สมาธิภาวนาสูตรที่ 1 จบ

2. ปัญหพยากรณสูตร
ว่าด้วยวิธีการตอบปัญหา

[42] ภิกษุทั้งหลาย การตอบปัญหา 4 ประการนี้
การตอบปัญหา 4 ประการ6 อะไรบ้าง คือ
1. เอกังสพยากรณียปัญหา (ปัญหาที่ควรตอบโดยนัยเดียว)
2. วิภัชชพยากรณียปัญหา (ปัญหาที่ควรแยกตอบ)
3. ปฏิปุจฉาพยากรณียปัญหา (ปัญหาที่ควรตอบโดยย้อนถาม)
4. ฐปนียปัญหา (ปัญหาที่ควรงดตอบ)
ภิกษุทั้งหลาย การตอบปัญหา 4 ประการนี้แล
(1) ตอบโดยนัยเดียว (2) แยกตอบ
(3) ตอบโดยย้อนถาม (4) งดตอบ