เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์]
4.จักกวรรค 8.ปฏิลีนสูตร

ภิกษุตั้งอยู่ในศีล สำรวมอินทรีย์
รู้จักประมาณในการบริโภค
ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เนือง ๆ
มีความเพียรอยู่อย่างนี้
ไม่เกียจคร้านตลอดคืนและวัน
ชื่อว่าบำเพ็ญกุศลธรรม
เพื่อบรรลุสภาวะอันเป็นแดนเกษมจากโยคะ
ภิกษุผู้ยินดีในความไม่ประมาท
หรือมีปกติเห็นภัยในความประมาท
ไม่อาจเสื่อม ชื่อว่าอยู่ใกล้นิพพานแน่แท้

อปริหานิยสูตรที่ 7 จบ

8. ปฏิลีนสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้หลีกเร้น

[38] ภิกษุทั้งหลาย เราเรียกภิกษุว่า ผู้มีปัจเจกสัจจะ1อันบรรเทาได้ ผู้มี
การแสวงหาอันสละได้ดี ผู้มีกายสังขารอันระงับได้ ผู้หลีกเร้น
ภิกษุผู้มีปัจเจกสัจจะอันบรรเทาได้ เป็นอย่างไร
คือ ปัจเจกสัจจะเป็นอันมาก เช่น เห็นว่า โลกเที่ยงบ้าง โลกไม่เที่ยงบ้าง โลก
มีที่สุดบ้าง โลกไม่มีที่สุดบ้าง ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน ชีวะกับสรีระเป็นคน
ละอย่างกัน หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก
หลังจากตายแล้วตถาคต2เกิดอีกและไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิด
อีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่ เหล่านั้นทั้งหมดของสมณะและพราหมณ์จำนวนมาก


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์]
4.จักกวรรค 8.ปฏิลีนสูตร

อันภิกษุในธรรมวินัยนี้บรรเทาได้ กำจัดได้ สละได้ คลายได้ ปล่อยวางได้ ละได้
สละคืนได้ ภิกษุผู้มีปัจเจกสัจจะอันบรรเทาได้ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุผู้มีการแสวงหาอันสละได้ดี เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ละการใฝ่หากาม1 ละการแสวงหาภพ2 ระงับการ
แสวงหาพรหมจรรย์ได้3 ภิกษุผู้มีการแสวงหาอันสละได้ดี เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุผู้มีกายสังขารอันระงับได้4 เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัส
ดับไปก่อนแล้ว บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่
ภิกษุผู้มีกายสังขารอันระงับได้ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุผู้หลีกเร้น เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ละอัสมิมานะ5ได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคนเหมือนต้น
ตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้
ภิกษุผู้หลีกเร้น เป็นอย่างนี้แล
เราเรียกภิกษุว่า ผู้มีปัจเจกสัจจะอันบรรเทาได้ ผู้มีการแสวงหาอันสละได้ดี
ผู้มีกายสังขารอันระงับได้ ผู้หลีกเร้น ด้วยประการฉะนี้