เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 4.จักกวรรค 3.สีหสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดตถาคต1อุบัติในโลก เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยตนเอง
โดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึก ผู้ที่ควร
ฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า
เป็นพระผู้มีพระภาค2 แสดงธรรมว่า ‘สักกายะ3เป็นอย่างนี้ สักกายสมุทัย (เหตุเกิด
สักกายะ) เป็นอย่างนี้ สักกายนิโรธ (ความดับสักกายะ) เป็นอย่างนี้ สักกายนิโรธ-
คามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับสักกายะ) เป็นอย่างนี้’ เมื่อนั้นเทวดาพวกที่มี
อายุยืน มีวรรณะ มีสุขมาก สถิตอยู่ในวิมานสูงเป็นเวลานาน ฟังธรรมเทศนา
ของตถาคตแล้ว โดยมากย่อมถึงความกลัว หวาดหวั่น สะดุ้งว่า “ผู้เจริญทั้งหลาย
ทราบมาว่า พวกเราเป็นผู้ไม่เที่ยง แต่ได้สำคัญตนว่า ‘เที่ยง’ เป็นผู้ไม่ยั่งยืน แต่ได้
สำคัญตนว่า ‘ยั่งยืน’ เป็นผู้ไม่คงที่ แต่ได้สำคัญตนว่า ‘คงที่’ ท่านผู้เจริญทั้งหลาย
พวกเราเป็นผู้ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่คงที่ เกี่ยวเนื่องอยู่ในสักกายะ” ดังนี้ บรรดา
ชาวโลกพร้อมทั้งเทวโลก ตถาคตเป็นผู้มีฤทธิ์มากอย่างนี้ มีศักดิ์มากอย่างนี้ มี
อานุภาพมากอย่างนี้ อย่างนั้นเหมือนกัน
เมื่อใดพระพุทธเจ้าผู้เป็นศาสดา
หาบุคคลเปรียบเทียบมิได้4 ตรัสรู้ยิ่งแล้ว


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์]
4.จักกวรรค 4.อัคคัปปสาทสูตร

ประกาศธรรมจักร คือ
สักกายะ เหตุเกิดสักกายะ ความดับสักกายะ
และอริยมรรคมีองค์ 8 ที่ให้ถึงความดับทุกข์
แก่โลกพร้อมทั้งเทวโลก
เมื่อนั้นเทวดาที่มีอายุยืน มีวรรณะ มียศ
หวาดหวั่น ฟังคำของตถาคต
ผู้เป็นอรหันต์ หลุดพ้นแล้ว ผู้คงที่
ได้ถึงความสะดุ้งดุจเนื้อกลัวราชสีห์
ด้วยคิดว่า ‘ท่านผู้เจริญ ทราบว่า
พวกเราเป็นผู้ไม่เที่ยง ยังไม่ก้าวล่วงสักกายะ’

สีหสูตรที่ 3 จบ

4. อัคคัปปสาทสูตร
ว่าด้วยความเลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ

[34] ภิกษุทั้งหลาย ความเลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ 4 ประการนี้
ความเลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ 4 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. สัตว์ทั้งหลายที่ไม่มีเท้า มีสองเท้า มีสี่เท้า หรือมีเท้ามากก็ตาม มี
รูปหรือไม่มีรูปก็ตาม มีสัญญา ไม่มีสัญญา หรือมีสัญญาก็ไม่ใช่
ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ก็ตาม มีประมาณเท่าใด ตถาคตอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้าเรากล่าวว่าเลิศกว่าสัตว์มีประมาณเท่านั้น บุคคลผู้เลื่อมใส
ในพระพุทธเจ้าชื่อว่าเลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ และวิบากที่เลิศย่อมมีแก่
บุคคลผู้เลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ
2. ธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมีประมาณเท่าใด อริยมรรคมีองค์ 8 เรา
กล่าวว่าเลิศกว่าธรรมเหล่านั้น บุคคลผู้เลื่อมใสในอริยมรรคมีองค์ 8
ชื่อว่าเลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ และวิบากที่เลิศย่อมมีแก่บุคคลผู้เลื่อมใส
ในสิ่งที่เลิศ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 21 หน้า :53 }