เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์]
1.ภัณฑคามวรรค 4.ทุติยขตสูตร

ผู้ใดกล่าวสรรเสริญผู้ควรติเตียน
หรือกล่าวติเตียนผู้ควรสรรเสริญ
ผู้นั้นชื่อว่าสั่งสมความผิดไว้ด้วยปาก
ย่อมไม่ประสพความสุขเพราะความผิดนั้น
การปราชัยด้วยทรัพย์ในการเล่นการพนัน
จนหมดตัวนี้ เป็นความผิดเพียงเล็กน้อย
แต่การที่บุคคลมีใจประทุษร้ายในบุคคล
ที่ดำเนินไปดีแล้วนี้เท่านั้น เป็นความผิดมากกว่า
บุคคลผู้ตั้งวาจาและใจอันชั่วติเตียนพระอริยะ
ย่อมเข้าถึงนรกสิ้น 136,000 นิรัพพุทกัป1
กับอีก 5 อัพพุทกัป

ปฐมขตสูตรที่ 3 จบ

4. ทุติยขตสูตร
ว่าด้วยเหตุให้ตนถูกกำจัด สูตรที่ 2

[4] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย คนพาลผู้ไม่เฉียบแหลม เป็น
อสัตบุรุษ ปฏิบัติผิดในบุคคล 4 จำพวก ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย
มีความเสียหาย ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพสิ่งที่มิใช่บุญเป็นอันมาก
บุคคล 4 จำพวกไหนบ้าง คือ
1. คนพาลผู้ไม่เฉียบแหลม เป็นอสัตบุรุษ ปฏิบัติผิดในมารดา ย่อม
บริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย มีความเสียหาย ถูกผู้รู้ติเตียน
และประสพสิ่งที่มิใช่บุญเป็นอันมาก
2. คนพาลผู้ไม่เฉียบแหลม เป็นอสัตบุรุษ ปฏิบัติผิดในบิดา ฯลฯ
3. คนพาลผู้ไม่เฉียบแหลม เป็นอสัตบุรุษ ปฏิบัติผิดในตถาคต ฯลฯ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์]
1.ภัณฑคามวรรค 4.ทุติยขตสูตร

4. คนพาลผู้ไม่เฉียบแหลม เป็นอสัตบุรุษ ปฏิบัติผิดในสาวกของตถาคต
ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย มีความเสียหาย ถูกผู้รู้
ติเตียน และประสพสิ่งที่มิใช่บุญเป็นอันมาก
ภิกษุทั้งหลาย คนพาลผู้ไม่เฉียบแหลม เป็นอสัตบุรุษ ปฏิบัติผิดในบุคคล 4
จำพวกนี้แล ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย มีความเสียหาย ถูกผู้รู้ติเตียน
และประสพสิ่งที่มิใช่บุญเป็นอันมาก
ภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตผู้เฉียบแหลม เป็นสัตบุรุษ ปฏิบัติชอบในบุคคล 4
จำพวก ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีความเสียหาย ไม่ถูก
ผู้รู้ติเตียน และประสพบุญเป็นอันมาก
บุคคล 4 จำพวกไหนบ้าง คือ
1. บัณฑิตผู้เฉียบแหลม เป็นสัตบุรุษ ปฏิบัติชอบในมารดา ย่อม
บริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีความเสียหาย ไม่
ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพบุญเป็นอันมาก
2. บัณฑิตผู้เฉียบแหลม เป็นสัตบุรุษ ปฏิบัติชอบในบิดา ฯลฯ
3. บัณฑิตผู้เฉียบแหลม เป็นสัตบุรุษ ปฏิบัติชอบในตถาคต ฯลฯ
4. บัณฑิตผู้เฉียบแหลม เป็นสัตบุรุษ ปฏิบัติชอบในสาวกของตถาคต
ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีความเสียหาย
ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพบุญเป็นอันมาก
ภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตผู้เฉียบแหลม เป็นสัตบุรุษ ปฏิบัติชอบในบุคคล 4
จำพวกนี้แล ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีความเสียหาย
ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพบุญเป็นอันมาก
นรชนผู้ปฏิบัติผิดในมารดาบิดา
ตถาคตสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือสาวกของตถาคตนั้น
ย่อมประสพสิ่งที่มิใช่บุญเป็นอันมาก
เพราะการไม่ประพฤติธรรมในมารดาบิดานั้น
บัณฑิตทั้งหลายจึงติเตียนนรชนนั้นในโลกนี้แล
เขาจากโลกนี้ไปแล้วจึงไปสู่อบาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 21 หน้า :6 }