เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์]
3.อุรุเวลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

3. ถ้าติเตียน คัดค้านสัมมาสติที่จัดเป็นธรรมบท ก็ชื่อว่าเป็นผู้บูชา
สรรเสริญสมณะหรือพราหมณ์ผู้มีสติหลงลืม ไม่มีสัมปชัญญะ
4. ถ้าติเตียน คัดค้านสัมมาสมาธิที่จัดเป็นธรรมบท ก็ชื่อว่าเป็นผู้
บูชาสรรเสริญสมณะหรือพราหมณ์ผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตกวัดแกว่ง
บุคคลใดสำคัญธรรมบท 4 ประการนี้ว่าควรติเตียน ควรคัดค้าน บุคคลนั้น
ย่อมได้รับฐานะ 4 ประการพร้อมทั้งเหตุคล้อยตามวาทะไม่ชอบธรรม ที่น่าติเตียน
ในปัจจุบัน ปริพาชกชื่อวัสสะและภัญญะ ผู้อยู่ในอุกกลชนบท เป็นอเหตุกวาทะ1
อกิริยวาทะ2 นัตถิกวาทะ3 สำคัญธรรมบท 4 ประการนี้ว่าไม่ควรติเตียน ไม่ควร
คัดค้าน ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะกลัวการนินทา การกระทบกระทั่ง และการ
กล่าวให้ร้าย”
บุคคลผู้ไม่พยาบาท
มีสติทุกเมื่อ มีจิตตั้งมั่นดีภายใน
ผู้ศึกษาในธรรมเป็นเครื่องกำจัดอภิชฌา
เราเรียกว่า ผู้ไม่ประมาท

ปริพพาชกสูตรที่ 10 จบ
อุรุเวลวรรคที่ 3 จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

1. ปฐมอุรุเวลสูตร 2. ทุติยอุรุเวลสูตร
3. โลกสูตร 4. กาฬการามสูตร
5. พรหมจริยสูตร 6. กุหสูตร
7. สันตุฏฐิสูตร 8. อริยวังสสูตร
9. ธัมมปทสูตร 10. ปริพพาชกสูตร


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์]
4.จักกวรรค 2. สังคหสูตร

4. จักกวรรค
หมวดว่าด้วยจักร
1. จักกสูตร
ว่าด้วยจักร 4 ประการ

[31] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย จักร1 4 ประการนี้เป็นเหตุให้
เทวดาและมนุษย์ผู้ประกอบแล้วเป็นไปได้ และถึงความเป็นใหญ่ ความไพบูลย์ใน
โภคะทั้งหลายต่อกาลไม่นานนัก
จักร 4 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ปฏิรูปเทสวาสะ (การอยู่ในถิ่นที่ดี)
2. สัปปุริสูปัสสยะ (การสมาคมกับสัตบุรุษ)
3. อัตตสัมมาปณิธิ (การตั้งตนไว้ชอบ)
4. ปุพเพกตปุญญตา (ความเป็นผู้ได้ทำความดีไว้ก่อนแล้ว)
จักร 4 ประการนี้แลเป็นเหตุให้เทวดาและมนุษย์ผู้ประกอบแล้วเป็นไปได้ และ
ถึงความเป็นใหญ่ ความไพบูลย์ในโภคะทั้งหลายต่อกาลไม่นานนัก
ข้าวเปลือก ทรัพย์ ยศ ชื่อเสียง
และความสุขย่อมหลั่งไหลมาสู่นรชน
ผู้อยู่ในถิ่นที่ดี ผูกไมตรีกับอริยชน
สมบูรณ์ด้วยการตั้งตนไว้ชอบ ได้ทำความดีไว้ก่อนแล้ว

จักกสูตรที่ 1 จบ

2. สังคหสูตร
ว่าด้วยสังคหวัตถุ

[32] ภิกษุทั้งหลาย สังคหวัตถุ (ธรรมเครื่องยึดเหนี่ยว) 4 ประการนี้
สังคหวัตถุ 4 ประการ2 อะไรบ้าง คือ