เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์]
3.อุรุเวลวรรค 4. กาฬการามสูตร

รูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ฯลฯ นั้น
เราพึงกล่าวว่า ‘ทั้งรู้และไม่รู้’ แม้คำนั้นพึงเป็นคำเท็จเช่นเดียวกัน
รูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ฯลฯ นั้น
เราพึงกล่าวว่า ‘รู้ก็มิใช่ ไม่รู้ก็มิใช่’ คำนั้นพึงเป็นโทษแก่เรา
ตถาคตเห็นรูปที่ควรเห็นแล้ว แต่ไม่สำคัญว่าได้เห็น ไม่สำคัญว่าไม่ได้เห็น ไม่
สำคัญว่าต้องได้เห็น ไม่สำคัญว่าเป็นผู้เห็น ฟังเสียงที่ควรฟังแล้ว แต่ไม่สำคัญว่า
ได้ฟัง ไม่สำคัญว่าไม่ได้ฟัง ไม่สำคัญว่าต้องได้ฟัง ไม่สำคัญว่าเป็นผู้ฟัง ทราบอารมณ์
ที่ควรทราบแล้ว แต่ไม่สำคัญว่าได้ทราบ ไม่สำคัญว่าไม่ได้ทราบ ไม่สำคัญว่าต้อง
ได้ทราบ ไม่สำคัญว่าเป็นผู้ทราบ รู้แจ้งธรรมารมณ์ที่ควรรู้แจ้งแล้ว แต่ไม่สำคัญว่า
ได้รู้แจ้ง ไม่สำคัญว่าไม่ได้รู้แจ้ง ไม่สำคัญว่าต้องได้รู้แจ้ง ไม่สำคัญว่าเป็นผู้รู้แจ้ง
ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นผู้คงที่เช่นนั้นแลในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง
อารมณ์ที่ได้ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง เรากล่าวว่า ‘บุคคลอื่นผู้คงที่1ยิ่งกว่าหรือ
ประณีตกว่าตถาคตผู้คงที่นั้น ไม่มี’
รูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ
ที่คนเหล่าอื่นหมกมุ่นแล้ว สำคัญกันว่าจริง
ตถาคตเป็นผู้คงที่ในรูปเป็นต้นเหล่านั้น
ที่สำรวมระวังดีแล้วด้วยพระองค์เอง
ไม่ปักใจเชื่อว่าจริงหรือเท็จ
เราเห็นลูกศรคือทิฏฐินี้ก่อนแล้ว
จึงรู้เห็นลูกศรคือทิฏฐินั้น
ที่หมู่สัตว์หมกมุ่นแล้ว ข้องอยู่อย่างนั้น
แต่ตถาคตทั้งหลายไม่มีความหมกมุ่น

กาฬการามสูตรที่ 4 จบ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 3.อุรุเวลวรรค 6.กุหสูตร

5. พรหมจริยสูตร
ว่าด้วยการประพฤติพรหมจรรย์

[25] ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตประพฤติพรหมจรรย์นี้มิใช่เพื่อจะลวงคน มิใช่
เพื่อเกลี้ยกล่อมคน มิใช่เพื่ออานิสงส์คือลาภสักการะและชื่อเสียง มิใช่เพื่อ
อานิสงส์คือการอวดอ้างวาทะ มิใช่เพื่อให้คนรู้ว่า ‘คนจงรู้จักเราด้วยอาการอย่างนี้’
แท้จริง ตถาคตประพฤติพรหมจรรย์นี้เพื่อสำรวมระวัง เพื่อละ เพื่อคลายกำหนัด
เพื่อดับทุกข์
พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ได้ทรงแสดงพรหมจรรย์
ปราศจากความยึดมั่นถือมั่นแต่โบราณ
ทำให้สัตว์ถึงพระนิพพานเพื่อสำรวมระวัง เพื่อละ
หนทางนี้ท่านผู้ใหญ่
ผู้แสวงหาคุณยิ่งใหญ่ดำเนินไปตามแล้ว
อนึ่ง เหล่าชนผู้ปฏิบัติตามแนวทาง
ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว
ชื่อว่าทำตามคำสั่งสอนของพระศาสดา
จักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้

พรหมจริยสูตรที่ 5 จบ

6. กุหสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้หลอกลวง

[26] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใดหลอกลวง กระด้าง ประจบ ชอบวางท่า
อวดดี มีจิตไม่ตั้งมั่น ภิกษุเหล่านั้นชื่อว่าไม่ใช่ผู้นับถือเรา ห่างไกลจากธรรมวินัยนี้
และย่อมไม่ถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้ ส่วนภิกษุเหล่าใดไม่หลอก
ลวง ไม่ประจบ เป็นนักปราชญ์ ไม่กระด้าง มีจิตตั้งมั่น ภิกษุเหล่านั้นแลชื่อว่า
ผู้นับถือเรา ไม่ห่างไกลจากธรรมวินัยนี้ และถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ใน
ธรรมวินัยนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 21 หน้า :41 }