เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [5. ปัฐจมปัณณาสก์]
7. กัมมปถวรรค 10. มิจฉาทิฏฐิสูตร

ธรรม 4 ประการ อะไรบ้าง คือ

1. ตนเองเป็นผู้มีจิตพยาบาท
2. ชักชวนผู้อื่นให้มีจิตพยาบาท
3. เป็นผู้พอใจความมีจิตพยาบาท
4. กล่าวสรรเสริญความมีจิตพยาบาท

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม 4 ประการนี้แลย่อมดำรงอยู่ในนรก
เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม 4 ประการย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์
เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ธรรม 4 ประการ อะไรบ้าง คือ

1. ตนเองเป็นผู้มีจิตไม่พยาบาท
2. ชักชวนผู้อื่นให้มีจิตไม่พยาบาท
3. เป็นผู้พอใจความมีจิตไม่พยาบาท
4. กล่าวสรรเสริญความมีจิตไม่พยาบาท

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม 4 ประการนี้แลย่อมดำรงอยู่ใน
สวรรค์เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้

พยาปันนจิตตสูตรที่ 9 จบ

10. มิจฉาทิฏฐิสูตร
ว่าด้วยผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิและผู้เป็นสัมมาทิฏฐิ

[273] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม 4 ประการย่อมดำรงอยู่ใน
นรกเหมือนถูกนำไปฝังไว้
ธรรม 4 ประการ อะไรบ้าง คือ

1. ตนเองเป็นมิจฉาทิฏฐิ
2. ชักชวนผู้อื่นให้เป็นมิจฉาทิฏฐิ
3. เป็นผู้พอใจความเป็นมิจฉาทิฏฐิ
4. กล่าวสรรเสริญความเป็นมิจฉาทิฏฐิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 21 หน้า :388 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [5. ปัฐจมปัณณาสก์]
8. ราคเปยยาล 1. สติปัฏฐานสูตร

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม 4 ประการนี้แลย่อมดำรงอยู่ในนรก
เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม 4 ประการย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์
เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ธรรม 4 ประการ อะไรบ้าง คือ

1. ตนเองเป็นสัมมาทิฏฐิ
2. ชักชวนผู้อื่นให้เป็นสัมมาทิฏฐิ
3. เป็นผู้พอใจความเป็นสัมมาทิฏฐิ
4. กล่าวสรรเสริญความเป็นสัมมาทิฏฐิ

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม 4 ประการนี้แลย่อมดำรงอยู่ใน
สวรรค์เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้

มิจฉาทิฏฐิสูตรที่ 10 จบ
กัมมปถวรรคที่ 7 จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

1. ปาณาติปาตีสูตร 2. อทินนาทายีสูตร
3. มิจฉาจารีสูตร 4. มุสาวาทีสูตร
5. ปิสุณวาจาสูตร 6. ผรุสวาจาสูตร
7. สัมผัปปลาปสูตร 8. อภิชฌาลุสูตร
9. พยาปันนจิตตสูตร 10. มิจฉาทิฏฐิสูตร

8. ราคเปยยาล
1. สติปัฏฐานสูตร
ว่าด้วยการเจริญสติปัฏฐานเพื่อรู้ยิ่งราคะ

[274] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญธรรม 4 ประการ
เพื่อรู้ยิ่งราคะ (ความกำหนัด)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 21 หน้า :389 }