เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [5. ปัฐจมปัณณาสก์]
6. อภิญญาวรรค 7. ทุติยอาชานียสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีของพระราชาที่ประกอบด้วยองค์ 4 ประการ
นี้แลย่อมเป็นม้าควรแก่พระราชา ควรเป็นม้าต้น นับว่าเป็นราชพาหนะโดยแท้ ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 4 ประการก็ฉันนั้นเหมือนกันย่อม
เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ฯลฯ1 เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
ธรรม 4 ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้

1. สมบูรณ์ด้วยวรรณะ 2. สมบูรณ์ด้วยกำลัง
3. สมบูรณ์ด้วยเชาว์ 4. สมบูรณ์ด้วยทรวดทรง

ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยวรรณะ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีศีล ฯลฯ2 สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยวรรณะ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยกำลัง เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ปรารภความเพียรอยู่เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศล
ธรรมเกิด มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย
ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยกำลัง เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยเชาว์ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะ
อาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยเชาว์ เป็น
อย่างนี้แล
ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยทรวดทรง เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัย
เภสัชชบริขาร ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยทรวดทรง เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 4 ประการนี้แลย่อมเป็นผู้ควรแก่
ของที่เขานำมาถวาย ฯลฯ2 เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก

ทุติยอาชานียสูตรที่ 7 จบ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [5.ปัฐจมปัณณาสก์]
7.กัมมปถวรรค 9.อรัญญสูตร

8. พลสูตร
ว่าด้วยพละ

[261] ภิกษุทั้งหลาย พละ 4 ประการนี้
พละ 4 ประการ อะไรบ้าง คือ

1. วิริยพละ 2. สติพละ
3. สมาธิพละ 4. ปัญญาพละ

ภิกษุทั้งหลาย พละ 4 ประการนี้แล

พลสูตรที่ 8 จบ

9. อรัญญสูตร
ว่าด้วยธรรมของภิกษุผู้ควรอยู่ป่าและไม่ควรอยู่ป่า

[262] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 4 ประการ ไม่ควรอาศัย
เสนาสนะอันเงียบสงัด คือ ป่าโปร่งและป่าทึบ1
ธรรม 4 ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุ

1. ประกอบด้วยกามวิตก (ความตรึกในทางกาม)
2. ประกอบด้วยพยาบาทวิตก (ความตรึกในทางพยาบาท)
3. ประกอบด้วยวิหิงสาวิตก (ความตรึกในทางเบียดเบียน)
4. มีปัญญาทราม โง่เขลา เป็นคนเซอะ2

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 4 ประการนี้แล ไม่ควรอาศัย
เสนาสนะอันเงียบสงัด คือ ป่าโปร่งและป่าทึบ