เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [5.ปัฐจมปัณณาสก์]
6.อภิญญาวรรค 4.มาลุงกยปุตตสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มาลุงกยบุตร บัดนี้เราจะกล่าวกับพวกภิกษุหนุ่ม
อย่างไร ในเมื่อเธอเป็นคนแก่เฒ่า เป็นผู้ใหญ่ ขอฟังโอวาทของตถาคตโดยย่อ”
พระมาลุงกยบุตรกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาค
โปรดแสดงธรรมโดยย่อแก่ข้าพระองค์ ขอพระสุคตโปรดแสดงธรรมโดยย่อ ข้า
พระองค์จะพึงรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคได้บ้าง ข้าพระองค์
จะพึงเป็นทายาทแห่งพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคได้บ้าง”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มาลุงกยบุตร มีเหตุเกิดแห่งตัณหา 4 ประการนี้
ที่ตัณหาเมื่อจะเกิดแก่ภิกษุย่อมเกิดขึ้นได้
มีเหตุเกิดแห่งตัณหา 4 ประการ อะไรบ้าง คือ

1. ตัณหาเมื่อจะเกิดแก่ภิกษุย่อมเกิดเพราะจีวรเป็นเหตุ
2. ตัณหาเมื่อจะเกิดแก่ภิกษุย่อมเกิดเพราะบิณฑบาตเป็นเหตุ
3. ตัณหาเมื่อจะเกิดแก่ภิกษุย่อมเกิดเพราะเสนาสนะเป็นเหตุ
4. ตัณหาเมื่อจะเกิดแก่ภิกษุย่อมเกิดเพราะปัจจัยที่ดีและดีกว่า1

มาลุงกยบุตร มีเหตุเกิดแห่งตัณหา 4 ประการนี้แล ที่ตัณหาเมื่อจะเกิดแก่
ภิกษุย่อมเกิดขึ้นได้
เมื่อใดแล ภิกษุละตัณหาได้เด็ดขาดแล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูก
ตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ภิกษุนี้เรา
เรียกว่า ตัดตัณหาได้แล้ว ถอนสังโยชน์ได้แล้ว ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้แล้ว เพราะละ
มานะได้โดยชอบ”
ลำดับนั้นแล ท่านพระมาลุงกยบุตรอันพระผู้มีพระภาคทรงสอนด้วยโอวาท
นี้แล้วลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้วจากไป
ต่อมา ท่านพระมาลุงกยบุตรหลีกออกไป อยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท2 มีความเพียร


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [5.ปัฐจมปัณณาสก์] 6.อภิญญาวรรค 5.กุลสูตร

อุทิศกายและใจอยู่ ไม่นานนักก็ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยม1อันเป็นที่สุดแห่ง
พรหมจรรย์ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการด้วยปัญญา
อันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน รู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำ
กิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป” จึงเป็นอันว่าท่าน
พระมาลุงกยบุตรได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย

มาลุงกยบุตรสูตรที่ 4 จบ

5. กุลสูตร
ว่าด้วยตระกูล

[258] ภิกษุทั้งหลาย ตระกูลใดตระกูลหนึ่งถึงความเป็นใหญ่ในโภคทรัพย์แล้ว
ย่อมดำรงอยู่ได้ไม่นานเพราะเหตุ 4 ประการ หรือเหตุใดเหตุหนึ่งบรรดาเหตุ 4
ประการนั้น
เหตุ 4 ประการ อะไรบ้าง คือ

1. ไม่แสวงหาพัสดุที่หายไป
2. ไม่ซ่อมแซมพัสดุที่เก่าคร่ำคร่า
3. ไม่รู้จักประมาณในการบริโภค
4. ตั้งสตรีหรือบุรุษทุศีลให้เป็นใหญ่ในเรือน

ภิกษุทั้งหลาย ตระกูลใดตระกูลหนึ่งถึงความเป็นใหญ่ในโภคทรัพย์แล้วย่อม
ดำรงอยู่ได้ไม่นานเพราะเหตุ 4 ประการนี้ หรือเหตุใดเหตุหนึ่งบรรดาเหตุ 4
ประการนั้น
ภิกษุทั้งหลาย ตระกูลใดตระกูลหนึ่งถึงความเป็นใหญ่ในโภคทรัพย์แล้วย่อม
ดำรงอยู่ได้นานเพราะเหตุ 4 ประการ หรือเหตุใดเหตุหนึ่งบรรดาเหตุ 4 ประการนั้น
เหตุ 4 ประการ อะไรบ้าง คือ