เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [5.ปัฐจมปัณณาสก์]
6.อภิญญาวรรค 2. ปริเยสนาสูตร

2. ปริเยสนาสูตร
ว่าด้วยการแสวงหา

[255] ภิกษุทั้งหลาย อนริยปริเยสนา1 4 ประการนี้
อนริยปริเยสนา 4 ประการ อะไรบ้าง คือ
บุคคลบางคนในโลกนี้

1. ตนเองเป็นผู้มีความแก่เป็นธรรมดาย่อมแสวงหาแต่สิ่งที่มีความ
แก่เป็นธรรมดา
2. ตนเองเป็นผู้มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดาย่อมแสวงหาแต่สิ่งที่มีความ
เจ็บไข้เป็นธรรมดา
3. ตนเองเป็นผู้มีความตายเป็นธรรมดาย่อมแสวงหาแต่สิ่งที่มีความ
ตายเป็นธรรมดา
4. ตนเองเป็นผู้มีความเศร้าหมองเป็นธรรมดาย่อมแสวงหาแต่สิ่งที่มี
ความเศร้าหมองเป็นธรรมดา

ภิกษุทั้งหลาย อนริยปริเยสนา 4 ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย อริยปริเยสนา 4 ประการนี้
อริยปริเยสนา 4 ประการ อะไรบ้าง คือ
บุคคลบางคนในโลกนี้

1. ตนเองเป็นผู้มีความแก่เป็นธรรมดา รู้โทษในสิ่งที่มีความแก่เป็น
ธรรมดาแล้วย่อมแสวงหานิพพานอันไม่มีความแก่ซึ่งเป็นแดนเกษม
จากโยคะที่ยอดเยี่ยม
2. ตนเองเป็นผู้มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา รู้โทษในสิ่งที่มีความเจ็บไข้
เป็นธรรมดาแล้วย่อมแสวงหานิพพานอันไม่มีความเจ็บไข้ซึ่งเป็น
แดนเกษมจากโยคะที่ยอดเยี่ยม


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [5.ปัฐจมปัณณาสก์]
6.อภิญญาวรรค 4.มาลุงกยปุตตสูตร

3. ตนเองเป็นผู้มีความตายเป็นธรรมดา รู้โทษในสิ่งที่มีความตาย
เป็นธรรมดาแล้วย่อมแสวงหานิพพานอันไม่มีความตายซึ่งเป็นแดน
เกษมจากโยคะที่ยอดเยี่ยม
4. ตนเองเป็นผู้มีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา รู้โทษในสิ่งที่มีความ
เศร้าหมองเป็นธรรมดาแล้วย่อมแสวงหานิพพานอันไม่มีความ
เศร้าหมองซึ่งเป็นแดนเกษมจากโยคะที่ยอดเยี่ยม

ภิกษุทั้งหลาย อริยปริเยสนา 4 ประการนี้แล

ปริเยสนาสูตรที่ 2 จบ

3. สังคหวัตถุสูตร
ว่าด้วยสังคหวัตถุ

[256] ภิกษุทั้งหลาย สังคหวัตถุ (ธรรมเครื่องยึดเหนี่ยว) 4 ประการนี้
สังคหวัตถุ 4 ประการ อะไรบ้าง คือ

1. ทาน (การให้)
2. เปยยวัชชะ (วาจาเป็นที่รัก)
3. อัตถจริยา (การประพฤติประโยชน์)
4. สมานัตตตา (การวางตนสม่ำเสมอ)

ภิกษุทั้งหลาย สังคหวัตถุ 4 ประการนี้แล

สังคหวัตถุสูตรที่ 3 จบ

4. มาลุงกยปุตตสูตร
ว่าด้วยพระมาลุงกยบุตร

[257] ครั้งนั้นแล ท่านพระมาลุงกยบุตรเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดง
ธรรมโดยย่อแก่ข้าพระองค์ ซึ่งข้าพระองค์ได้ฟังแล้วพึงหลีกออกไปอยู่ผู้เดียว ไม่
ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่เถิด”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 21 หน้า :373 }