เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [5.ปัฐจมปัณณาสก์]
5.อาปัตติภยวรรค 3.สิกขานิสังสสูตร

อีกอย่างหนึ่ง อาทิพรหมจริยกสิกขา1เราบัญญัติแก่สาวกทั้งหลายเพื่อความ
สิ้นไปแห่งทุกข์โดยชอบทุกประการ อาทิพรหมจริยกสิกขาเราบัญญัติแล้วแก่สาวก
ทั้งหลายเพื่อความสิ้นไปแห่งทุกข์โดยชอบทุกประการโดยวิธีใดๆ สาวกนั้นไม่ทำ
สิกขานั้นให้ขาด ไม่ให้ทะลุ ไม่ให้ด่าง ไม่ให้พร้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบท
ทั้งหลายโดยวิธีนั้น ๆ พรหมจรรย์มีสิกขาเป็นอานิสงส์ เป็นอย่างนี้แล
พรหมจรรย์มีปัญญาเป็นยอด เป็นอย่างไร
คือ ธรรมทั้งหลาย2เราแสดงแล้วแก่สาวกทั้งหลายในธรรมวินัยนี้เพื่อความสิ้น
ไปแห่งทุกข์โดยชอบทุกประการ ธรรมทั้งหลายเราแสดงแล้วแก่สาวกทั้งหลายเพื่อ
ความสิ้นไปแห่งทุกข์โดยชอบทุกประการโดยวิธีใด ๆ ธรรมทั้งหลายนั้นสาวกพิจารณา
ด้วยปัญญาโดยวิธีนั้น ๆ พรหมจรรย์มีปัญญาเป็นยอด เป็นอย่างนี้แล
พรหมจรรย์มีวิมุตติเป็นแก่น เป็นอย่างไร
คือ ธรรมทั้งหลายเราแสดงแก่สาวกทั้งหลายในธรรมวินัยนี้เพื่อความสิ้นไปแห่ง
ทุกข์โดยชอบทุกประการ ธรรมทั้งหลายเราแสดงแล้วแก่สาวกทั้งหลาย เพื่อความ
สิ้นไปแห่งทุกข์โดยชอบทุกประการโดยวิธีใด ๆ ธรรมทั้งหลายนั้นเป็นธรรมอันวิมุตติ
ถูกต้องแล้วโดยวิธีนั้น ๆ พรหมจรรย์มีวิมุตติเป็นแก่น เป็นอย่างนี้แล
พรหมจรรย์มีสติเป็นอธิปไตย เป็นอย่างไร
คือ สติภิกษุตั้งไว้ดีภายในว่า ‘เราจักบำเพ็ญอภิสมาจาริกสิกขาที่ยังไม่บริบูรณ์
ให้บริบูรณ์ หรือจักอนุเคราะห์อภิสมาจาริกสิกขาที่บริบูรณ์แล้วด้วยปัญญาในฐานะ
นั้น ๆ’ บ้าง สติที่ภิกษุตั้งไว้ดีภายในว่า ‘เราจักบำเพ็ญอาทิพรหมจริยกสิกขาที่ยัง
ไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ หรือจักอนุเคราะห์อาทิพรหมจริยกสิกขาที่บริบูรณ์แล้วด้วย
ปัญญาในฐานะนั้น ๆ’ บ้าง สติที่ภิกษุตั้งไว้ดีภายในว่า ‘เราจักพิจารณาธรรมที่เรา