เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์]
3.อุรุเวลวรรค 2.ทุติยอุรุเวลสูตร

1. เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์ เพียบพร้อมด้วย
อาจาระและโคจรอยู่ มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทาน
ศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
2. เป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ฟังมากซึ่งธรรมทั้งหลายที่มี
ความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด
ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์
ครบถ้วน ทรงจำไว้ได้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ1
3. เป็นผู้ได้ฌาน 4 อันมีในจิตยิ่ง2 ซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก
4. ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไป
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่ทำให้เป็นเถระ 4 ประการนี้แล”
บุคคลผู้มีจิตฟุ้งซ่าน
มีความดำริไม่มั่นคงเหมือนมฤค
ยินดีในอสัทธรรม กล่าวคำไร้สาระเป็นอันมาก
มีความเห็นต่ำทราม ไม่มีความเอื้อเฟื้อ
ย่อมห่างไกลจากความเป็นผู้มั่นคง
ส่วนบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยศีล
มีสุตะ มีปฏิภาณ ประกอบอยู่ในธรรมที่มั่นคง
ย่อมเห็นแจ้งอรรถแห่งอริยสัจด้วยมรรคปัญญา
ถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง3 ไม่มีกิเลสเกาะยึดไว้
มีปฏิภาณ ละความเกิดและความตายได้แล้ว
เพียบพร้อมด้วยพรหมจรรย์


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์]
3.อุรุเวลวรรค 3.โลกสูตร

เราเรียกภิกษุผู้ไม่มีอาสวะว่า ‘เถระ’
เราเรียกภิกษุนั้นว่า ‘เถระ’ เพราะสิ้นอาสวะทั้งหลาย

ทุติยอุรุเวลสูตรที่ 2 จบ

3. โลกสูตร
ว่าด้วยโลก

[23] ภิกษุทั้งหลาย โลก1ตถาคตตรัสรู้2แล้ว ตถาคตพรากจากโลก ตถาคต
ตรัสรู้เหตุเกิดแห่งโลก ตถาคตละเหตุเกิดแห่งโลกแล้ว ตถาคตตรัสรู้ความดับแห่ง
โลก ตถาคตทำให้ประจักษ์ซึ่งความดับแห่งโลก ตถาคตตรัสรู้ข้อปฏิบัติให้ถึงความ
ดับแห่งโลก ตถาคตบำเพ็ญข้อปฏิบัติที่ให้ถึงความดับแห่งโลกแล้ว
เพราะตถาคตตรัสรู้รูปที่ได้เห็น3 เสียงที่ได้ฟัง4 อารมณ์ที่ได้ทราบ5 ธรรมารมณ์
ที่รู้แจ้ง6ที่ชาวโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก และหมู่สัตว์พร้อมทั้ง
สมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ถึง แสวงหา ตรองตามด้วยใจทั้งหมด ฉะนั้น
ชาวโลกจึงเรียกว่า ‘ตถาคต’
เพราะตถาคตตรัสรู้ในราตรีใด ปรินิพพานในราตรีใด ในระหว่างนี้ย่อมภาษิต
กล่าว แสดงออกซึ่งคำใด คำนั้นทั้งหมดเป็นจริงอย่างนั้นแล ไม่เป็นอย่างอื่น ฉะนั้น
ชาวโลกจึงเรียกว่า ‘ตถาคต’
เพราะตถาคตกล่าวอย่างใด ก็ทำอย่างนั้น ทำอย่างใด ก็กล่าวอย่างนั้น ฉะนั้น
ชาวโลกจึงเรียกว่า ‘ตถาคต’