เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [5.ปัฐจมปัณณาสก์]
4.กัมมวรรค 5.ทุติยสิกขาปทสูตร

กรรม 4 ประการ อะไรบ้าง คือ

1. กรรมดำมีวิบากดำ
2. กรรมขาวมีวิบากขาว
3. กรรมทั้งดำและขาวมีวิบากทั้งดำและขาว
4. กรรมทั้งไม่ดำและไม่ขาว มีวิบากทั้งไม่ดำและไม่ขาว เป็นไปเพื่อ
ความสิ้นกรรม

กรรมดำมีวิบากดำ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฆ่ามารดา เป็นผู้ฆ่าบิดา เป็นผู้ฆ่าพระอรหันต์
มีจิตประทุษร้ายต่อพระตถาคตยังพระโลหิตให้ห้อขึ้น ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน นี้เรียก
ว่า กรรมดำมีวิบากดำ
กรรมขาวมีวิบากขาว เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เป็นผู้เว้นขาดจาก
การลักทรัพย์ เป็นผู้เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม เป็นผู้เว้นขาดจากการพูด
เท็จ เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ เป็นผู้
เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา มีจิตไม่พยาบาท มีความ
เห็นชอบ นี้เรียกว่า กรรมขาวมีวิบากขาว
กรรมทั้งดำและขาวมีวิบากทั้งดำและขาว เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ปรุงแต่งกายสังขารที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มี
ความเบียดเบียนบ้าง ฯลฯ1 นี้เรียกว่า กรรมทั้งดำและขาวมีวิบากทั้งดำและขาว
กรรมทั้งไม่ดำและไม่ขาว มีวิบากทั้งไม่ดำและไม่ขาว เป็นไปเพื่อความ
สิ้นกรรม เป็นอย่างไร
คือ บรรดากรรมเหล่านั้น เจตนาเพื่อละกรรมดำที่มีวิบากดำ ฯลฯ1 นี้เรียกว่า
กรรมทั้งไม่ดำและไม่ขาว มีวิบากทั้งไม่ดำและไม่ขาว เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม
ภิกษุทั้งหลาย กรรม 4 ประการนี้แลเราทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว
จึงประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม

ทุติยสิกขาปทสูตรที่ 5 จบ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [5.ปัฐจมปัณณาสก์]
4.กัมมวรรค 6.อริยมัคคสูตร

6. อริยมัคคสูตร
ว่าด้วยอริยมรรค

[237] ภิกษุทั้งหลาย กรรม 4 ประการนี้เราทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
แล้ว จึงประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม
กรรม 4 ประการ อะไรบ้าง คือ

1. กรรมดำมีวิบากดำ
2. กรรมขาวมีวิบากขาว
3. กรรมทั้งดำและขาวมีวิบากทั้งดำและขาว
4. กรรมทั้งไม่ดำและไม่ขาว มีวิบากทั้งไม่ดำและไม่ขาว เป็นไปเพื่อ
ความสิ้นกรรม

กรรมดำมีวิบากดำ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ปรุงแต่งกายสังขารที่มีความเบียดเบียน ฯลฯ1 นี้
เรียกว่า กรรมดำมีวิบากดำ
กรรมขาวมีวิบากขาว เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ปรุงแต่งกายสังขารที่ไม่มีความเบียดเบียน ฯลฯ1
นี้เรียกว่า กรรมขาวมีวิบากขาว
กรรมทั้งดำและขาวมีวิบากทั้งดำและขาว เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ปรุงแต่งกายสังขารที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มี
ความเบียดเบียนบ้าง ฯลฯ1 นี้เรียกว่า กรรมทั้งดำและขาวมีวิบากทั้งดำและขาว
กรรมทั้งไม่ดำและไม่ขาว มีวิบากทั้งไม่ดำและไม่ขาว เป็นไปเพื่อความ
สิ้นกรรม เป็นอย่างไร
คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้เรียกว่า กรรมทั้งไม่ดำและไม่ขาว มี
วิบากทั้งไม่ดำและไม่ขาว เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม
ภิกษุทั้งหลาย กรรม 4 ประการนี้แลเราทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว
จึงประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม

อริยมัคคสูตรที่ 6 จบ