เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [5.ปัฐจมปัณณาสก์] 4.กัมมวรรค 2.วิตถารสูตร

กรรมขาวมีวิบากขาว เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ปรุงแต่งกายสังขารที่ไม่มีความเบียดเบียน ปรุงแต่ง
วจีสังขารที่ไม่มีความเบียดเบียนและปรุงแต่งมโนสังขารที่ไม่มีความเบียดเบียน เขา
ครั้นปรุงแต่งแล้วย่อมเข้าถึงโลกที่ไม่มีความเบียดเบียน ผัสสะที่ไม่มีความเบียดเบียน
ย่อมถูกต้องบุคคลผู้เข้าถึงโลกที่ไม่มีความเบียดเบียนนั้น เขาถูกผัสสะที่ไม่มีความ
เบียดเบียนกระทบเข้าย่อมเสวยเวทนาที่ไม่มีความเบียดเบียน เป็นสุขโดยส่วนเดียว
เหมือนพวกเทวดา1ชั้นสุภกิณหะ นี้เรียกว่า กรรมขาวมีวิบากขาว
กรรมทั้งดำและขาวมีวิบากทั้งดำและขาว เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ปรุงแต่งกายสังขารที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มี
ความเบียดเบียนบ้าง ปรุงแต่งวจีสังขารที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความ
เบียดเบียนบ้าง และปรุงแต่งมโนสังขารที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียน
บ้าง เขาครั้นปรุงแต่งแล้วย่อมเข้าถึงโลกที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความ
เบียดเบียนบ้าง ผัสสะที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง ย่อมถูก
ต้องบุคคลผู้เข้าถึงโลกที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง เขา
ถูกผัสสะที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้างกระทบเข้าย่อมเสวย
เวทนาที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง มีสุขและทุกข์ระคนกัน
เหมือนมนุษย์ เทวดาบางพวก2 และวินิปาติกะ3บางพวก นี้เรียกว่า กรรมทั้งดำ
และขาวมีวิบากทั้งดำและขาว
กรรมทั้งไม่ดำและไม่ขาว มีวิบากทั้งไม่ดำและไม่ขาว เป็นไปเพื่อความ
สิ้นกรรม เป็นอย่างไร


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [5.ปัฐจมปัณณาสก์]
4.กัมมวรรค 3.โสณกายนสูตร

คือ บรรดากรรมเหล่านั้น เจตนา1เพื่อละกรรมดำที่มีวิบากดำ เจตนาเพื่อ
ละกรรมขาวที่มีวิบากขาว และเจตนาเพื่อละกรรมทั้งดำและขาวที่มีวิบากทั้งดำ
และขาว นี้เรียกว่า กรรมทั้งไม่ดำและไม่ขาว มีวิบากทั้งไม่ดำและไม่ขาว เป็นไป
เพื่อความสิ้นกรรม
ภิกษุทั้งหลาย กรรม 4 ประการนี้แลเราทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว
จึงประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม

วิตถารสูตรที่ 2 จบ

3. โสณกายนสูตร
ว่าด้วยมาณพชื่อโสณกายนะ

[234] ครั้งนั้นแล พราหมณ์ชื่อสิขาโมคคัลลานะ2เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว จึงนั่ง
ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ หลายวันมาแล้ว โสณกายนมาณพ3ไปหาข้าพเจ้า
ถึงที่อยู่ได้กล่าวว่า ‘พระสมณโคดมทรงบัญญัติกรรมทั้งปวงว่าเป็นอกิริยะ4 ก็เมื่อ
บัญญัติกรรมทั้งปวงว่าเป็นอกิริยะ ชื่อว่ากล่าวความขาดสูญแห่งโลก ข้าแต่พระ
โคดมผู้เจริญ โลกนี้มีกรรมเป็นสภาพ ดำรงอยู่ได้ด้วยการก่อกรรมมิใช่หรือ”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์ เราไม่รู้สึกว่าได้เห็นโสณกายนมาณพเลย
ที่ไหนจะได้กล่าวปราศรัยอย่างนี้เล่า กรรม 4 ประการนี้เราทำให้แจ้งด้วยปัญญา
อันยิ่งเองแล้วจึงประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม