เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [5.ปัฐจมปัณณาสก์]
1.สัปปุริสวรรค 8. ทุติยปาปธัมมสูตร

คนดี เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ1 เป็นสัมมาทิฏฐิ
บุคคลนี้เรียกว่า คนดี
คนดีที่ยิ่งกว่าคนดี เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์และชักชวนผู้อื่น
ให้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ1 ตนเองเป็นสัมมาทิฏฐิและชักชวนผู้อื่นให้เป็น
สัมมาทิฏฐิ บุคคลนี้เรียกว่า คนดีที่ยิ่งกว่าคนดี

ปฐมปาปธัมมสูตรที่ 7 จบ

8. ทุติยปาปธัมมสูตร
ว่าด้วยธรรมชั่วและธรรมดี สูตรที่ 2

[208] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงคนชั่วและคนชั่วที่ยิ่งกว่าคนชั่ว จักแสดง
คนดีและคนดีที่ยิ่งกว่าคนดีแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ2
คนชั่ว เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ3 มีมิจฉาญาณะ(รู้ผิด) มี
มิจฉาวิมุตติ(หลุดพ้นผิด) บุคคลนี้เรียกว่า คนชั่ว
คนชั่วที่ยิ่งกว่าคนชั่ว เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ตนเองเป็นผู้มีมิจฉาทิฏฐิและชักชวนผู้อื่นให้มีมิจฉา-
ทิฏฐิ ฯลฯ3 ตนเองเป็นผู้มีมิจฉาญาณะและชักชวนผู้อื่นให้มีมิจฉาญาณะ ตนเองเป็น
ผู้มีมิจฉาวิมุตติและชักชวนผู้อื่นให้มีมิจฉาวิมุตติ บุคคลนี้เรียกว่า คนชั่วที่ยิ่งกว่าคนชั่ว
คนดี เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ3 มีสัมมาญาณะ มี
สัมมาวิมุตติ บุคคลนี้เรียกว่า คนดี


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [5. ปัฐจมปัณณาสก์]
1. สัปปุริสวรรค 9. ตติยปาปธัมมสูตร

คนดีที่ยิ่งกว่าคนดี เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ตนเองเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิและชักชวนผู้อื่นให้มีสัมมา-
ทิฏฐิ ฯลฯ1 ตนเองเป็นผู้มีสัมมาญาณะและชักชวนผู้อื่นให้มีสัมมาญาณะ ตนเอง
เป็นผู้มีสัมมาวิมุตติและชักชวนผู้อื่นให้มีสัมมาวิมุตติ บุคคลนี้เรียกว่า คนดีที่ยิ่งกว่า
คนดี

ทุติยปาปธัมมสูตรที่ 8 จบ

9. ตติยปาปธัมมสูตร
ว่าด้วยธรรมชั่วและธรรมดี สูตรที่ 3

[209] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงบุคคลผู้มีธรรมชั่วและบุคคลผู้มีธรรมชั่วที่
ยิ่งกว่าบุคคลผู้มีธรรมชั่ว จักแสดงบุคคลผู้มีธรรมดีและบุคคลผู้มีธรรมดีที่ยิ่งกว่า
บุคคลผู้มีธรรมดีแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ2
บุคคลผู้มีธรรมชั่ว เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ3 เป็นมิจฉาทิฏฐิ บุคคลนี้เรียกว่า
บุคคลผู้มีธรรมชั่ว
บุคคลผู้มีธรรมชั่วที่ยิ่งกว่าบุคคลผู้มีธรรมชั่ว เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ตนเองเป็นผู้ฆ่าสัตว์และชักชวนผู้อื่นให้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ3
ตนเองเป็นมิจฉาทิฏฐิและชักชวนผู้อื่นให้เป็นมิจฉาทิฏฐิ บุคคลนี้เรียกว่า บุคคลผู้มี
ธรรมชั่วที่ยิ่งกว่าบุคคลผู้มีธรรมชั่ว
บุคคลผู้มีธรรมดี เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ3 เป็นสัมมาทิฏฐิ
บุคคลนี้เรียกว่า บุคคลผู้มีธรรมดี