เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [4.จตุตถปัณณาสก์] 5.มหาวรรค 10.เปมสูตร

จึงไม่มี ตัณหาว่า ‘เราพึงเป็นโดยประการอื่นบ้าง’ จึงไม่มี ตัณหาว่า ‘เราจักเป็น’
จึงไม่มี ตัณหาว่า ‘เราจักเป็นอย่างนี้’ จึงไม่มี ตัณหาว่า ‘เราจักเป็นอย่างนั้น’ จึงไม่มี
ตัณหาว่า ‘เราจักเป็นโดยประการอื่น’ จึงไม่มี ภิกษุชื่อว่าไม่บังหวนควัน เป็น
อย่างนี้แล
ภิกษุชื่อว่าลุกโพลง เป็นอย่างไร
คือ เมื่อมีตัณหาว่า ‘เราเป็นด้วยขันธปัญจกนี้’ ตัณหาว่า ‘เราเป็นอย่างนี้ด้วย
ขันธปัญจกนี้’ จึงมี ตัณหาว่า ‘เราเป็นอย่างนั้นด้วยขันธปัญจกนี้’ จึงมี ตัณหาว่า
‘เราเป็นโดยประการอื่นด้วยขันธปัญจกนี้’ จึงมี ตัณหาว่า ‘เราเป็นผู้เที่ยงด้วย
ขันธปัญจกนี้’ จึงมี ตัณหาว่า ‘เราเป็นผู้ไม่เที่ยงด้วยขันธปัญจกนี้’ จึงมี ตัณหาว่า
‘เราพึงเป็นด้วยขันธปัญจกนี้’ จึงมี ตัณหาว่า ‘เราพึงเป็นอย่างนี้ด้วยขันธปัญจกนี้’
จึงมี ตัณหาว่า ‘เราพึงเป็นโดยประการนั้นด้วยขันธปัญจกนี้’ จึงมี ตัณหาว่า ‘เรา
พึงเป็นโดยประการอื่นด้วยขันธปัญจกนี้’ จึงมี ตัณหาว่า ‘เราพึงเป็นด้วยขันธปัญจก
นี้บ้าง’ จึงมี ตัณหาว่า ‘เราพึงเป็นอย่างนี้ด้วยขันธปัญจกนี้บ้าง’ จึงมี ตัณหาว่า
‘เราพึงเป็นอย่างนั้นด้วยขันธปัญจกนี้บ้าง’ จึงมี ตัณหาว่า ‘เราพึงเป็นอย่างอื่น
ด้วยขันธปัญจกนี้บ้าง’ จึงมี ตัณหาว่า ‘เราจักเป็นด้วยขันธปัญจกนี้’ จึงมี ตัณหาว่า
‘เราจักเป็นอย่างนี้ด้วยขันธปัญจกนี้’ จึงมี ตัณหาว่า ‘เราจักเป็นอย่างนั้นด้วย
ขันธปัญจกนี้’ จึงมี ตัณหาว่า ‘เราจักเป็นโดยประการอื่นด้วยขันธปัญจกนี้’ จึงมี
ภิกษุชื่อว่าลุกโพลง เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุชื่อว่าไม่ลุกโพลง เป็นอย่างไร
คือ เมื่อไม่มีตัณหาว่า “เราเป็นด้วยขันธปัญจกนี้” ตัณหาว่า “เราเป็น
อย่างนี้ด้วยขันธปัญจกนี้” จึงไม่มี ตัณหาว่า “เราเป็นอย่างนั้นด้วยขันธปัญจกนี้”
จึงไม่มี ตัณหาว่า “เราเป็นโดยประการอื่นด้วยขันธปัญจกนี้” จึงไม่มี ตัณหาว่า
“เราเป็นผู้เที่ยงด้วยขันธปัญจกนี้” จึงไม่มี ตัณหาว่า “เราเป็นผู้ไม่เที่ยงด้วย
ขันธปัญจกนี้” จึงไม่มี ตัณหาว่า “เราพึงเป็นด้วยขันธปัญจกนี้” จึงไม่มี ตัณหาว่า
“เราพึงเป็นอย่างนี้ด้วยขันธปัญจกนี้” จึงไม่มี ตัณหาว่า “เราพึงเป็นอย่างนั้นด้วย
ขันธปัญจกนี้” จึงไม่มี ตัณหาว่า “เราพึงเป็นโดยประการอื่นด้วยขันธปัญจกนี้บ้าง”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 21 หน้า :318 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [4.จตุตถปัณณาสก์]
5.มหาวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

จึงไม่มี ตัณหาว่า “เราพึงเป็นด้วยขันธปัญจกนี้บ้าง” จึงไม่มี ตัณหาว่า “เราพึงเป็น
อย่างนี้ด้วยขันธปัญจกนี้บ้าง” จึงไม่มี ตัณหาว่า “เราพึงเป็นอย่างนั้นด้วยขันธปัญจก
นี้บ้าง” จึงไม่มี ตัณหาว่า “เราพึงเป็นโดยประการอื่นด้วยขันธปัญจกนี้บ้าง” จึงไม่มี
ตัณหาว่า “เราจักเป็นด้วยขันธปัญจกนี้” จึงไม่มี ตัณหาว่า “เราจักเป็นอย่างนี้
ด้วยขันธปัญจกนี้” จึงไม่มีตัณหาว่า “เราจักเป็นอย่างนั้นด้วยขันธปัญจกนี้” จึงไม่มี
ตัณหาว่า “เราจักเป็นโดยประการอื่นด้วยขันธปัญจกนี้” จึงไม่มี ภิกษุชื่อว่าไม่
ลุกโพลง เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุชื่อว่าถูกไฟไหม้ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ยังละอัสมิมานะไม่ได้เด็ดขาด ยังไม่ได้ตัดรากถอนโคน
ให้เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้น
ต่อไปไม่ได้ ภิกษุชื่อว่าถูกไฟไหม้ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุชื่อว่าไม่ถูกไฟไหม้ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ละอัสมิมานะได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคนเหมือน
ต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้
ภิกษุชื่อว่าไม่ถูกไฟไหม้ เป็นอย่างนี้แล


เปมสูตรที่ 10 จบ
มหาวรรคที่ 5 จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

1. โสตานุคตสูตร 2. ฐานสูตร
3. ภัททิยสูตร 4. สาปุคิยาสูตร
5. วัปปสูตร 6. สาฬหสูตร
7. มัลลิกาเทวีสูตร 8. อัตตันตปสูตร
9. ตัณหาสูตร 10. เปมสูตร

จตุตถปัณณาสก์ จบบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 21 หน้า :319 }