เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [4.จตุตถปัณณาสก์] 5.มหาวรรค 10.เปมสูตร

ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี
เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ภิกษุนี้เราเรียกว่า ไม่ยึดถือ1 ไม่โต้ตอบ2 ไม่บังหวนควัน3 ไม่
ลุกโพลง4 ไม่ถูกไฟไหม้5
ภิกษุชื่อว่ายึดถือ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็น
อัตตาว่ามีรูป พิจารณาเห็นรูปในอัตตา หรือพิจารณาเห็นอัตตาในรูป พิจารณา
เห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีเวทนา พิจารณาเห็นเวทนา
ในอัตตา หรือพิจารณาเห็นอัตตาในเวทนา พิจารณาเห็นสัญญาโดยความเป็นอัตตา
พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีสัญญา พิจารณาเห็นสัญญาในอัตตา หรือพิจารณาเห็น
อัตตาในสัญญา พิจารณาเห็นสังขารทั้งหลายโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็น
อัตตาว่ามีสังขาร พิจารณาเห็นสังขารในอัตตา หรือพิจารณาเห็นอัตตาในสังขาร
พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณ
พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตา หรือพิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณ ภิกษุชื่อว่ายึดถือ
เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุชื่อว่าไม่ยึดถือ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไม่เห็นรูปโดยความเป็นอัตตา ไม่เห็นอัตตาว่ามีรูป
ไม่เห็นรูปในอัตตา หรือไม่เห็นอัตตาในรูป ไม่เห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตา ไม่
เห็นอัตตาว่ามีเวทนา ไม่เห็นเวทนาในอัตตา หรือไม่เห็นอัตตาในเวทนา ไม่เห็น
สัญญาโดยความเป็นอัตตา ไม่เห็นอัตตาว่ามีสัญญา ไม่เห็นสัญญาในอัตตา หรือ
ไม่เห็นอัตตาในสัญญา ไม่เห็นสังขารโดยความเป็นอัตตา ไม่เห็นอัตตาว่ามีสังขาร


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [4.จตุตถปัณณาสก์] 5.มหาวรรค 10.เปมสูตร

ไม่เห็นสังขารในอัตตา หรือไม่เห็นอัตตาในสังขาร ไม่เห็นวิญญาณโดยความเป็น
อัตตา ไม่เห็นอัตตาว่ามีวิญญาณ ไม่เห็นวิญญาณในอัตตา หรือไม่เห็นอัตตาใน
วิญญาณ ภิกษุชื่อว่าไม่ยึดถือ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุชื่อว่าโต้ตอบ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ด่าโต้ตอบคนที่ด่า โกรธตอบคนที่โกรธ เถียงโต้ตอบ
คนที่ถียง ภิกษุชื่อว่าโต้ตอบ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุชื่อว่าไม่โต้ตอบ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไม่ด่าโต้ตอบคนที่ด่า ไม่โกรธตอบคนที่โกรธ ไม่
เถียงโต้ตอบคนที่ถียง ภิกษุชื่อว่าไม่โต้ตอบ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุชื่อว่าบังหวนควัน เป็นอย่างไร
คือ เมื่อมีตัณหาว่า ‘เราเป็น’ ตัณหาว่า ‘เราเป็นอย่างนี้’ จึงมี ตัณหาว่า
‘เราเป็นอย่างนั้น’ จึงมี ตัณหาว่า ‘เราเป็นโดยประการอื่น’ จึงมี ตัณหาว่า ‘เราเป็น
ผู้เที่ยง’ จึงมี ตัณหาว่า ‘เราเป็นผู้ไม่เที่ยง’ จึงมี ตัณหาว่า ‘เราพึงเป็น’ จึงมี
ตัณหาว่า ‘เราพึงเป็นอย่างนี้’ จึงมี ตัณหาว่า ‘เราพึงเป็นอย่างนั้น’ จึงมี ตัณหาว่า
“เราพึงเป็นโดยประการอื่น’ จึงมี ตัณหาว่า ‘เราพึงเป็นบ้าง’ จึงมี ตัณหาว่า
‘เราพึงเป็นอย่างนี้บ้าง” จึงมี ตัณหาว่า “เราพึงเป็นอย่างนั้นบ้าง” จึงมี ตัณหาว่า
“เราพึงเป็นโดยประการอื่นบ้าง’ จึงมี ตัณหาว่า ‘เราจักเป็น’ จึงมี ตัณหาว่า
‘เราจักเป็นอย่างน’ จึงมี ตัณหาว่า ‘เราจักเป็นอย่างนั้น’ จึงมี ตัณหาว่า ‘เราจัก
เป็นโดยประการอื่น’ จึงมี ภิกษุชื่อว่าบังหวนควัน เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุชื่อว่าไม่บังหวนควัน เป็นอย่างไร
คือ เมื่อไม่มีตัณหาว่า ‘เราเป็น’ ตัณหาว่า ‘เราเป็นอย่างนี้’ จึงไม่มี ตัณหาว่า
‘เราเป็นอย่างนั้น’ จึงไม่มี ตัณหาว่า ‘เราเป็นโดยประกอบอื่น’ จึงไม่มี ตัณหาว่า
‘เราเป็นผู้เที่ยง” จึงไม่มี ตัณหาว่า ‘เราเป็นผู้ไม่เที่ยง’ จึงไม่มี ตัณหาว่า ‘เราพึง
เป็น’ จึงไม่มี ตัณหาว่า ‘เราพึงเป็นอย่างนี้’ จึงไม่มี ตัณหาว่า ‘เราพึงเป็นอย่างนั้น’
จึงไม่มี ตัณหาว่า ‘เราพึงเป็นโดยประการอื่น’ จึงไม่มี ตัณหาว่า ‘เราพึงเป็นบ้าง’
จึงไม่มี ตัณหาว่า ‘เราพึงเป็นอย่างนี้บ้าง’ จึงไม่มี ตัณหาว่า ‘เราพึงเป็นอย่างนั้นบ้าง’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 21 หน้า :317 }